ภาวะง่วงนอนมากกลางวัน (excessive daytime sleepiness)

ภาวะง่วงนอนมากกลางวัน (excessive daytime sleepiness)

   ภาวะง่วงนอนมากผิดปกติกลางวัน เป็นภาวะที่สูญเสียความสามารถในการตื่นหรือตื่นตัวในช่วงที่ควร ตื่นกลางวัน เกิดภาวะต้องการหลับหรือผลอยหลับหรือมีแนวโน้มที่จะหลับในช่วงที่ทำกิจกรรมต่างๆ ในระยะเวลา 3 เดือน  อาการง่วงนอนอาจจะต้องแยกกับภาวะอ่อนเพลีย,ล้า  ความสำคัญของภาวะง่วงนอนมากกลางวัน มีผลต่อคุณภาพชีวิต, สุขภาพร่างกาย, การทำงาน ,การเรียน และเสี่ยงอย่างยิ่งต่อการเกิดอุบัติเหตุโดยเฉพาะการขับรถ

สาเหตุของภาวะง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน
  • 1.Sleep deprivation ภาวะอดนอนที่เกิดจากจำนวนชั่วโมงการนอนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย มักเกิดจากพฤติกรรมสุขอนามัยการนอนที่ไม่เหมาะสมหรือมีภาระหน้าที่งานอื่นที่ต้องทำ
  • 2.Medication induced ยาบางชนิดมีผลทำให้เกิดอาการง่วงนอนกลางวัน เช่น ยาแก้ภูมิแพ้, ยากันชัก,ยาต้านซึมเศร้า,ยานอนหลับ,ยาจิตเวช, รวมถึงแอลกอฮอล์ เป็นต้น
  • 3.Physical illness โรคทางกายบางอย่างอาจมีผลต่อภาวะง่วงนอน เช่น  ไทรอยด์ต่ำ,ของเสียคั่งจากไตหรือตับผิดปกติ,  พาร์คินสัน,โรคความผิดปกติทางสมอง,ภาวะหลังอุบัติเหตทางสมอง
  • 4.Mental illness เช่นภาวะซึมเศร้า อาจทำให้เกิดภาวะง่วงนอนและอ่อนเพลี่ย 
  • 5.Sleep disorder (โรคความผิดปกติขณะหลับ)  เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA), ภาวะขากระตุกขณะหลับ( periodic leg movements during sleep) 
  • 6.Circadian rhythm sleep disorders(ความแปรปรวนของนาฬิกาชีวิต)  เช่นกลุ่มที่นอนดึกตื่นสาย (delayed sleep phase syndrome) คนไข้เหล่านี้มักจะมีอาการง่วงนอนกลางวันแต่เมื่อมีโอกาสนอนในเวลาที่เพียงพอและตื่นในเวลาที่ร่างกายต้องการ อาการง่วงนอนนั้นก็จะหายไป , คนที่ทำงานเป็นกะ(shift work) เป็นต้น
  • 7.Central disorder of hypersomnolence (ความง่วงนอนผิดปกติจากระบบประสาทส่วนกลาง) ได้แก่ภาวะ  Narcolepsy(โรคลมหลับ),  idiopathic hypersomnia, Keine-Levin syndrome

ภาวะลมหลับ (Nacrolepsy)

   เป็นโรคที่พบได้ร้อยละ 0.02-0.18 พบในสองช่วงอายุ 15 ปีและ 35 ปี สาเหตุเกิดจากความผิดปกติ ของสารสื่อประสาทในระบบประสาทส่วนกลางเช่น (hypocretin) ซึ่งเป็นความผิดปกติที่พบในผู้ป่วย Nacrolepsy type I สำหรับ Nacrolepsy type II ยังไม่ทราบกลไกแน่ชัด อาการของผู้ป่วยNacrolepsy อาจจะมีดังต่อไปนี้

  • 1.Excessive daytime sleepiness ง่วงนอนมากผิดปกติ มักเป็นอาการแรกของผู้ป่วยโรคนี้  ผู้ป่วยจะหลับในสถานการณ์ต่างๆ เช่น ในห้องเรียน,ขณะทำงาน,เข้าห้องน้ำ,ขณะเขียนหนังสือหรือ แม้แต่ขณะกำลังสนทนา การนอนช่วงสั้นๆ มักจะช่วยให้สดชื่นขึ้นได้
  • 2.Cataplexy อาการผลอยหลับคือมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง คอตก เวลาที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงซึ่งพบใน (Nacrolepsy type 1)
  • 3.Sleep paralysis เป็นภาวะที่ไม่สามารถขยับตัวแขนขาขณะกำลังจะหลับหรือเพิ่งตื่นซึ่งผู้ป่วยรู้ตัว(ผีอำ)
  • 4. Hypnagogic hallucination เป็นภาวะที่ผู้ป่วยเห็นภาพหรือเสียงหลอนในขณะกำลังจะหลับหรือในขณะกำลังจะตื่น Hypnopoppic hallucination
อาการอื่นๆ ของโรคลมหลับ เช่น
  • 1. พฤติกรรมที่ทำโดยไม่รู้ตัวขณะหลับ เช่น เดิน,ทำอาหาร,ละเมอ
  • 2. ขาดสมาธิ,ขี้ลืม
การให้การวินิจฉัย

   อาศัยการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคความผิดปกติของการนอนหลับ, การประเมินแบบทดสอบอาการง่วงนอน (Epworth sleepiness scale), การทำแบบบันทึกเวลานอน(sleep diary) เพื่อบันทึกเวลาเข้านอน ตื่นนอนและเวลาที่หลับจริงในช่วงกลางวันและกลางคืน ในช่วงหนึ่งสัปดาห์, การตรวจการนอนหลับ(overnight polysomnography) เพื่อแยกโรคความผิดปกติขณะหลับที่อาจจะเป็นสาเหตุของ ภาวะง่วงนอน และ การทำ Multiple sleep latency test (MSLT) เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการง่วงนอน ในเวลากลางวันโดนประเมินว่าผู้ป่วยหลับเร็วเพียงใด

   Multiple sleep latency test (MSLT) จะทำหลังจากการตรวจการนอนหลับในช่วงกลางคืน (overnight polysomnography) เพื่อแยกความผิดปกติอื่นๆที่เกิดจากการหลับออกไปก่อนและผู้ป่วยควรมีเวลานอนที่เพียงพออย่างน้อย 7 ชม. MSLT จะเริ่มทำหลังจากตื่นนอน 2 ชม. โดยผู้ป่วยจะนอนอยู่บนเตียงในห้องมืดและทางเจ้าหน้าที่ จะผู้ป่วยได้มีโอกาสหลับบนเตียงประมาณ 20 นาที  จำนวน 5 ครั้งห่างกันทุก  2 ชม. เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยหลับเร็วเพียงใด้โดยอาศัยการตรวจคลื่นไฟ้ฟ้าสมองซึ่งสามารถดูภาวะหลับตื่นและวัดระดับ ความลึกของการหลับ

การรักษาเพื่อบรรเทาอาการ
  • 1. การรักษาภาวะง่วงนอน เช่น ยาที่มีผลกระตุ้นประสาท (methylphenidate, modafinil) , พฤติกรรมบำบัด(การนอนหรือตื่นให้เป็นเวลาสม่ำเสมอ หรืองีบหลับสั้นๆ กลางวัน)
  • 2. การรักษาภาวะผลอยหลับ เช่นการใช้ยา velaflexine, sodium oxybate  เป็นต้น

ผู้เรียบเรียง:  นายแพทย์ สิริชัย กิตติชาญธีระ 
แพทย์คลินิคโรคการนอนหลับ/ศูนย์ตรวจการนอนหลับ/ประสาทแพทย์ 

ศูนย์สมองและระบบประสาท
โทร.0-2596-7888