โรคมือ เท้า ปาก

     โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสพบได้บ่อยตลอดปีในเด็กโดยเฉพาะในวัยเด็กอนุบาล เนื่องจากสามารถติดต่อกันได้โดยง่ายโดยการสัมผัสน้ำลาย หรือสิ่งคัดหลั่งจากตุ่มใสที่เกิดขึ้นบริเวณ มือ เท้า รวมทั้งสามารถติดต่อกันโดยอ้อม จากการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ของเล่น หรือแก้วน้ำ เป็นต้น

      สาเหตุของการเกิดโรค เกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล(Entero virus) ซึ่งมีมากมายหลายสายพันธ์แต่สิ่งที่พบบ่อยคือ (Coxsackievirus A16) และที่อันตราย คือ สายพันธ์(Entero virus 71)

     อาการของโรค เป็นโรคที่ไม่อันตรายเป็นส่วนใหญ่ โรคหายได้เองแรกๆ มีอาการไข้เหมือนไข้หวัด มีแผลในปาก มีตุ่มใสบริเวณ มือ เท้า บางครั้งพบที่ก้น ผู้ป่วยจะมีอาการไม่สบาย งอแง ไม่กินอาหารเนื่องจากเจ็บปาก อาจมีอาการไข้สูง

     แผลในปากเหมือนแผลร้อนใน คล้ายเป็นโรค Herpangina แต่จะมีตุ่มใสที่มือ เท้า ซึ่ง Herpangina จะไม่มีตุ่มบริเวณอื่นนอกจากในปาก

อาการแทรกซ้อนที่อันตราย
1.ผู้ป่วยมีอาการซึม ปวดหัวมาก อาเจียน
2.พูดไม่รู้เรื่อง คอแข็ง สับสน ชัก
3.หายใจเร็วมากหรือหายใจช้ามาก อ่อนเพลีย เหนื่อย

  1. หากมีผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวนี้ ต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว
  2.  
  3.      การวินิจฉัย โดยมากเป็นการวินิจฉัยจากการตรวจร่างกาย แต่ปัจจุบันมีการตรวจเพิ่มเติมโดยตรง เพื่อหาตัวชี้เฉพาะ (PCR) จากสารคัดหลั่ง หรืออุจจาระ ซึ่งต้องใช้เวลา มักจะส่งตรวจในกรณีมีภาวะแทรกซ้อนทางสมอง หรือหัวใจ

     การรักษา เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสจึงไม่มียารักษาโดยตรง เป็นการรักษาตามอาการ ซึ่งมักมีปัญหา เจ็บคอ กินได้น้อย จึงแนะนำให้กินอาหารที่มีอุณหภูมิเย็นๆ เพื่อให้กลืนง่าย เช่น น้ำเย็น น้ำแข็ง หรือไอศครีม เป็นต้น

     บางครั้งอาจมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ ป้ายในปาก แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังไม่ใช้มากเกินไปและบ่อยเกินไป เนื่องจากมีอันตรายจากผลข้างเคียงของยาชาได้ แต่ถ้าเจ็บมากพิจารณาให้ใช้ได้เป็นครั้งคราว

     ข้อสำคัญของการรักษา ควรต้องเฝ้าระวังอันตรายจากภาวะแทรงซ้อนทางสมองและหัวใจ ตามอาการแทรกซ้อนที่อันตรายข้างต้น

การป้องกัน
ปัจจุบันไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ การป้องกันจึงเป็นเรื่องของการดูแลความสะอาดและอนามัยส่วนบุคคล เช่น
1.หลีกเลี่ยงจากผู้ป่วยโรคนี้และแยกผู้ที่เป็นโรคจากผู้อื่นโดยเฉพาะเด็กเล็กในโรงเรียน หรือสถานเลี้ยงเด็กเป็นเวลา 4-7 วัน
2.ล้างมือ ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ภาชนะรวมทั้งการกำจัด ผ้า หรือ กระดาษ ที่สำหรับทำความสะอาดสิ่งคัดหลั่งไม่ให้ปนเปื้อนสู่คนอื่น
3.หากพบมีผู้ป่วยให้รีบแยกออกและทำการรักษา

รพ.นนทเวชมีความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยตลอด 24 ชม.

ด้วยความปราถนาดีจาก

นพ.วีระกิจ หิรัญวิวัฒน์กุล
กุมารแพทย์ประจำศูนย์เด็กและวัยรุ่น
(Children and Teens Center)
โรงพยาบาลนนทเวช

NOV 17, 2017