ศูนย์สมองและระบบประสาท

ให้บริการวินิจฉัย การรักษา รวมถึงการตรวจเพื่อป้องกันโรคทางด้านสมองและระบบประสาทอย่างครบวงจรให้กับผู้ป่วย หรือผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคทางสมองและระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะ ปวดจากเส้นประสาทต่างๆ การรับรู้ความรู้สึกผิดปกติ อัมพฤกษ์ อัมพาต ลมชัก เป็นลมหมดสติ ภาวะสับสน การเสียการทรงตัว  การเคลื่อนไหวผิดปกติของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความจำเสื่อมรวมถึงการผิดปกติทางสมอง    ไขสันหลังและเส้นประสาทต่างๆ โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ทางด้านโรคทางสมองและระบบประสาท พร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย สามารถวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที

ขอบเขตและการให้บริการเฉพาะทาง ศูนย์สมองและระบบประสาท

คลินิกประสาทวิทยาและโรคหลอดเลือดสมอง
Neurology and Stroke

1.โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • 1.1 ป้องกันและฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Prevention and Recovery Service)
    1.2 ห้องฉุกเฉิน  รถพยาบาลและทีมบุคลากรการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนในการรับผู้ป่วยด้วยระบบทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองลัดทุกขั้นตอน หรือ Stroke Fast Track (Emergency Medical System for Stroke Service)
    1.3 ห้องไอซียู  หอพักผู้ป่วยใน ให้การดูแลรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Acute Stroke Unit, Neuro IPD and Rehabilatation Service)
    • 1.3.1 ห้องไอซียู (ICU)
    • 1.3.2 หอพักผู้ป่วยใน (IPD)
    • 1.3.3 การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการประเมินผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน (Rehabilatation and evaluation for placement at discharge)
      • 1.3.3.1   กายภาพบำบัด (Physical therapy)
      • 1.3.3.2    กิจกรรมบำบัด (Occupational therapy)
      • 1.3.3.3    เวชศาสตร์ฟื้นฟูสมอง (Neuro-rehabilitation)
      • 1.3.3.4    ฟื้นฟูความผิดปกติทางภาษาและการพูดจากโรคหลอดเลือดสมอง (Speech Language)
      • 1.3.3.5    กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ที่มีภาวะการกลืนลำบากจากโรคหลอดเลือดสมอง (Swallowing)
    • 1.3.4  การผ่าตัดเพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง (Surgeries to reduce stroke risk)
      • 1.3.4.1 การผ่าตัดเปิดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid endarterectomy)
      • 1.3.4.2 การผ่าตัดขยายหลอดเลือดโดยใช้ลวดค้ำยัน (Enduvascular Angioplasty  with Stenting)
  • 1.4  ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในระยะยาว (Long term Management and Prevention of Stroke Service)
    • 1.4.1 ลดน้ำหนัก (Losing weight)
    • 1.4.2 เลิกบุหรี่ (Quitting smoking)
  • 1.5  Neurodiasnostic Services
    1.5.2 การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRA Brain)
    • 1.5.1 การตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Brain)
    • 1.5.3 การตรวจวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Brain)
    • 1.5.4 การตรวจหลอดเลือดและสมองโดยใช้คลื่นความถี่สูง (Carotid Duplex Ultrasounds)
    • 1.5.5 การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง EEG (Electroencehalogram)
    • 1.5.6 การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory Tests)
2.โรคสมองเสื่อม (Memory Disorders)
3.โรคปวดศีรษะ (Headache)
4.โรคลมชัก (Epilepsy)
5.โรคการเคลื่อนไหวผิดปกติและโรคพาร์กินสัน (Movement Disorder and Parkinson)
6.เนื้องอกสมองและไขสันหลัง
  • 6.1 การผ่าตัดเนื้องอกในสมอง  (Brain Tumors)
  • 6.2 การผ่าตัดเนื้องอกต่อมใต้สมอง  (Pituitary Tumors)
  • 6.3 การผ่าตัดเนื้องอกในไขสันหลัง  (Spine Tumors)
7.การบาดเจ็บสมองและไขสันหลัง
  • 7.1 การบาดเจ็บสมอง  (Head Injuries)
  • 7.2 การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท 
  • 7.3 การผ่าตัดสมองจากอุบัติเหตุที่ศีรษะ
  • 7.4 การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis)
8.ศัลยกรรมระบบประสาท (โรคหลอดเลือดสมอง)
  • 8.1 การผ่าตัดเส้นเลือดโป่งพองในสมอง  (Cerebral aneurysm)
  • 8.2 การผ่าตัดเส้นเลือดขอดในสมอง  (Arteriovenous malformation : AVM )
9.ศัลยกรรมระบบประสาทเด็ก (Child Neurology)

การให้บริการ

  •  ระบบ Stroke Fast Track การนำส่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง นับตั้งแต่เกิดอาการจนกระทั่งมาถึงโรงพยาบาลเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงทีให้ทันภาย ใน 3 ชั่วโมง จะช่วยลดอัตราการเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ และลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย ทั้งนี้โรงพยาบาลนนทเวชมุ่งเน้นการรักษาพยาบาลด้วยทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยเฉพาะกรณีโรคฉุกเฉิน  เช่น โรคหลอดเลือดสมองแตก โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน  โดยมีระบบ Fast Track ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต และการเสียชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  •  ระบบส่งต่อแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับโรคที่มีความเชื่อมโยงกับอาการทางโรคระบบประสาท เช่น แพทย์โรคหัวใจ โรคกระดูกและข้อ ต่อมไร้ท่อ ศัลยกรรมระบบประสาท เป็นต้น เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  •  แผนกกายภาพ ให้บริการจัดโปรแกรมการออกกำลังกายเฉพาะรายสำหรับผู้ป่วยระบบประสาท เช่น การฝึกการทรงตัว การเดินด้วยอุปกรณ์เสริม การดึงคอ การใช้เครื่องพยุง (Support)  ต่างๆ ดำเนินการประเมินอาการโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพบำบัดที่มีใบประกอบวิชาชีพ รวมถึงพนักงานผู้ช่วยที่ผ่านการอบรมมีใบรับรองจากระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาควบคุมและเคลื่อนไหวร่างกายได้เหมือนเดิม

 

สัญญาณเตือนโรคที่ต้องรู้...ปวดหัวแบบไหนบอกอะไรเรา... โรคปวดศีรษะเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเวชปฎิบัติ สาเหตุของการปวดศีรษะที่พบได้เช่น กลุ่ม Tension, ไมเกรน, ปวดศีรษะที่เกิดจากพยาธิสภาพของสมอง ศีรษะ หรือต้นคอ อย่างไรก็ตาม ยังมีปวดศีรษะบางกลุ่ม ที่พบไม่บ่อย แต่มีความรุนแรงรบกวนชีวิตประจำวัน...คลิ๊กเพื่ออ่านต่อ

ปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิตที่พบในโรคอัลไซเมอร์... เรื่องเล่าจากหมอ(ประสาท)ตอน...อาม่าเปลี่ยนไป??...คลิ๊กเพื่ออ่านต่อ

การตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Neurovascular Ultrasound)... ในปัจจุบันมีการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจหลอดเลือดสมองและเส้นเลือดบริเวณคอมากขึ้น เนื่องจากตรวจได้ง่าย ราคาไม่สูงมากนัก ทําให้ใช้ในการตรวจคัดกรองได้ดี โดยเฉพาะในการตรวจพยาธิสภาพของหลอดเลือดแดงบริเวณคอ ...คลิ๊กเพื่ออ่านต่อ

อาการปวดศีรษะ... ส่วนใหญ่มักจะไม่ได้มีสาเหตุที่ร้ายแรงและอาจบรรเทาไปเองได้ เมื่อปวดศีรษะคงไม่แปลกที่หลายคนจะกังวลกลัวจะเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงไว้ก่อน ...คลิ๊กเพื่ออ่านต่อ

โรคหลงลืม... โรคหลงลืม สามารถตรวจคัดกรองโดยการทำแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น (TMSE)...คลิ๊กเพื่ออ่านต่อ

เส้นประสาทข้อมือถูกเบียดกด... เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดชาที่ฝ่ามือเป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มคนทำงานในวัยกลางคนขึ้นไปและพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย หญิงตั้งครรภ์หรือน้ำหนักมาก ...คลิ๊กเพื่ออ่านต่อ

อาการปวดศีรษะ... ส่วนใหญ่มักจะไม่ได้มีสาเหตุที่ร้ายแรงและอาจบรรเทาไปเองได้ เมื่อปวดศีรษะคงไม่แปลกที่หลายคนจะกังวลกลัวจะเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงไว้ก่อน ...คลิ๊กเพื่ออ่านต่อ