ศูนย์โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาเฉพาะโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ ทั้งเพศหญิงและเพศชาย รวมถึงการตรวจพิเศษทางระบบประสาทกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะเพศ โดยทีมศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ และทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่มีประสบการณ์สูงมากด้วยประสบการณ์ พร้อมด้วยเทคโนโลยีเพื่อการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง

ขอบเขตและการให้บริการเฉพาะทาง ศูนย์โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

ประกอบไปด้วยคลินิกให้การรักษาโรคระบบทางเดินปัสสาวะ จำนวน 6 คลินิก ดังนี้

คลินิกทางเดินปัสสาวะทั่วไป

ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษา และให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินปัสสาวะอักเสบ และโรคทั่วไปทางระบบปัสสาวะ โดยแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ ดังนี้

  • การตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis)
  • การเก็บปัสสาวะตรวจเพาะเชื้อทางห้องปฏิบัติการ (Urine Culture)
  • การส่องกล้องดูภายในกระเพาะปัสสาวะและต่อมลูกหมาก (Cystoscopy)
  • การตรวจภายในกระเพาะปัสสาวะด้วยวิธีส่องกล้อง(Cystoscope for Pus Culture) ในกรณีทางเดินปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง
  • การรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบรักษาด้วยยาทั้งแบบรับประทานและแบบฉีด
คลินิกปัสสาวะผิดปกติ และกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษา และให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยโดยการซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะ(Physical Examination by Urologist) และเครื่องมือและอุปกรณ์การตรวจวินิจฉัย ซึ่งพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อให้การวินิจฉัยถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ ดังนี้

  • การตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis)
  • การตรวจวัดความแรงของปัสสาวะ (Uroflowmetry)
  • การตรวจดูปริมาณปัสสาวะที่คั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะ (Post-Void Residual Urine) เพื่อดูว่ามีความผิดปกติที่ระยะใดของการปัสสาวะ
  • การตรวจระบบประสาททางเดินปัสสาวะ (Urodynamic) ซึ่งจะบอกถึงลักษณะการทำงานของกระเพาะปัสสาวะได้ดี สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษา และให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้องตรงกับปัญหาที่ผู้ป่วยเป็นอยู่การรักษาภาวะปัสสาวะผิดปกติ และกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ทั้งนี้การรักษาขึ้นกับสาเหตุของโรคว่า เกิดความบกพร่องที่อวัยวะในการควบคุมการปัสสาวะส่วนใด โดยทั่วไปแนวทางในการรักษามีอยู่ 3 วิธี ดังนี้

  • 1.พฤติกรรมบำบัด โดยการแนะนำให้ออกกำลังกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic Floor Exercise)
  • 2.การรักษาด้วยการให้ยา
  • 3.การผ่าตัดเพื่อเพิ่มแรงหูรูด (Urethral Sling) กรณีกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
คลินิกนิ่วทางเดินปัสสาวะ

ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษานิ่วทางเดินปัสสาวะ และให้คำแนะนำแก่ผู้ที่มีอาการของโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะ พร้อมด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์การตรวจวินิจฉัย ซึ่งพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อให้การวินิจฉัยถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ ดังนี้

  •  การซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะ(Physical Examination by Urologist)
  •  การตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีเลือด หรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urine Analysis)
  •  การตรวจอัลตราซาวด์ระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อดูความผิดปกติ (Ultrasound KUB System)
  •  การตรวจโดยการถ่ายภาพรังสีธรรมดาเพื่อดูรูปร่าง ลักษณะ ตำแหน่งของผลึกหรือก้อนนิ่ว ซึ่งอยู่บริเวณไต ท่อไต หรือกระเพาะปัสสาวะ (Plani KUB System)
  •  การตรวจ X-ray ฉีดสารเข้าหลอดเลือดดำและเมื่อสีขับเข้ากระเพาะปัสสาวะแพทย์จะสามารถเห็นตำแหน่งและความรุนแรงของการอุดกลั้นปัสสาวะ (Intravenous Pyelography - IVP)
  •  การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ดูอวัยวะและความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ (CT KUB System)
  •  การรักษาโดยการรับประทานยาละลายนิ่ว
  •  การส่องกล้องผ่านท่อไต (Ureteroscopy with Stone Removal) วิธีนี้ไม่มีรอยแผล เนื่องจากเป็นการส่องกล้องเข้าทางรูท่อปัสสาวะ หรือท่อไตที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
  •  การสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถีสูง (ESWL) ทำให้เม็ดนิ่วที่มีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร แตกเป็นเศษเล็กๆ ไหลหลุดออกมาเอง โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด
  •  การเจาะผ่านผิวหนังส่องกล้องกรอนิ่วในไต (PCNL) เป็นวิธีการรักษานิ่วในไต ที่พัฒนามาเพื่อเลี่ยงการผ่าตัดโดยใช้วิธีเจาะรูเล็กๆ ขนาดนิ้วชี้ทะลุจากผิวหนังเข้าไปในกรวยไต และใช้กล้องส่องตามเข้าไป จนพบก้อนนิ่ว จากนั้นจะใช้เครื่องมือเข้าไปกรอนิ่ว ให้แตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ และดูดหรือคีบนิ่วออกมา
  •  การขบนิ่ว (Cystolithotripsy) เป็นการใช้เครื่องมือเข้าไปทางท่อปัสสาวะ ขบนิ่วให้แตกแล้วล้างออกโดยไม่มีแผล กรณีเป็นนิ่วที่กระเพาะปัสสาวะ
คลินิกมะเร็งทางเดินปัสสาวะ

ให้บริการตรวจวินิจฉัย และรักษามะเร็งทางเดินปัสสาวะ ด้วยทีมแพทย์และทีมบุคลากรทางการแพทย์ทำงานร่วมกันเพื่อผลลัพธ์ทางการรักษาที่ดีของผู้ป่วย พร้อมไปด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อให้การวินิจฉัยถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ ดังนี้

  • การซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะ(Physical Examination by Urologist)
  • การตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Digital Rectal Exam-DRE)
  • การตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
  • การตรวจอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Transrectal Ultrasonography) สามารถเห็นต่อมลูกหมากและกระเพาะปัสสาวะ
  • การตรวจอัลตราซาวด์ทางเดินปัสสาวะ (Ultrasound KUB System)
  • การตรวจ X-ray ฉีดสารเข้าหลอดเลือดดำและเมื่อสีขับเข้าทางเดินปัสสาวะ แพทย์จะสามารถเห็นตำแหน่งและความรุนแรงของการอุดกลั้นปัสสาวะ (Intravenous Pyelography-IVP)
  • การส่องกล้องดูภายในกระเพาะปัสสาวะ และต่อมลูกหมาก (Cystoscopy)
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ดูอวัยวะและความผิดปกติในช่องท้อง ทั้งบนและล่าง (CT Whole Abdomen)
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ดูอวัยวะและความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ (CT KUB System)
  • การผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด (Radical Prostatectomy) เป็นการผ่าตัดแบบเปิด เพื่อเอาต่อมลูกหมากที่เป็นมะเร็งรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด
  • การผ่าตัดโดยใช้กล้อง (Laparoscopic radical Prostatectomy) เป็นการผ่าตัดโดยใช้กล้อง เพื่อเอาต่อมลูกหมากที่เป็นมะเร็งรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด
  • การผ่าตัดเนื้องอกที่ต่อมลูกหมาก (TUR-P)
  • การผ่าตัดเนื้องอกที่กระเพาะปัสสาวะ (Cystectomy)
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) คือการใช้ยาต้านมะเร็ง ซี่งสามารถผ่านไปถึงทุกส่วนของร่างกาย เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยมีแผนกเคมีบำบัด ภายใต้การดูแลของทีมสหสาขาวิชาชีพด้านการรักษาโรคมะเร็ง
คลินิกสุขภาพเพศชาย

ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษา และให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ประกอบด้วยบริการต่างๆ ดังนี้

การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคต่อมลูกหมากโต

  • การซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะ (Physical Examination by Urologist) โดยการตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Digital Rectal Exam-DRE)
  • การตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีเลือด หรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urine Analysis)
  • การตรวจเลือดเพื่อตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
  • รักษาโดยการรับประทานยา
  • ตัดต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้องผ่านอวัยวะเพศ เป็นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อให้ปัสสาวะไหลคล่อง (Transurethral Resection of the Prostate – TURP)
  • การใส่ตัวถ่างขยายท่อปัสสาวะบริเวณต่อมลูกหมาก (Prostatic stent) ใช้ในกรณีผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดได้
  • การผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้เลเซอร์ (Greenlight Laser PVP)

การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • การซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะ (Physical Examination by Urologist) โดยการตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Digital Rectal Exam – DRE)
  • การตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีเลือดหรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urine Analysis)
  • การตรวจเลือดเพื่อตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
  • การตรวจอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Transrectal Ultrasonography) สามารถเห็นต่อมลูกหมากและกระเพาะปัสสาวะ
  • การส่องกล้องดูภายในกระเพาะปัสสาวะและต่อมลูกหมาก (Cystoscopy)
  • การผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด (Radical Prostatectomy) เป็นการผ่าตัดแบบเปิดเพื่อเอาต่อมลูกหมากที่เป็นมะเร็งรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด
  • การผ่าตัดโดยใช้กล้อง (Laparoscopic radical Prostatectomy) เป็นการผ่าตัดโดยใช้กล้อง เพื่อเอาต่อมลูกหมากที่เป็นมะเร็งรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด
  • การตัดต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้องผ่านอวัยวะเพศ เป็นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อให้ปัสสาวะไหลคล่อง (Transurethral Resection of the Prostate – TURP)
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) คือการใช้ยาต้านมะเร็ง ซึ่งสามารถผ่านไปถึงทุกส่วนของร่างกายเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยมีแผนกเคมีบำบัด ภายใต้การดูแลของทีมสหสาขาวิชาชีพด้านการรักษาโรคมะเร็ง
  • การรักษาด้วยการควบคุม Hormone เพศชาย

การตรวจวินิจฉัยภาวะวัยทองในเพศชาย

  • ซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะ (Physical Examination by Urologist)
  • การตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone Test) การรักษาภาวะวัยทองในเพศชาย -รักษาโดยการใช้ฮอร์โมนเพศชายเสริม (Hormone Replacement Therapy)

การตรวจสุขภาพเพศชาย (Men’s Health Check Up) และการตรวจวินิจฉัย

  • การซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะ (Physical Examination by Urologist)
  • การตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีเลือดหรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urine Analysis)
  • การตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Digital Rectal Exam -DRE)
  • การตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone Test )
  • การตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
  • การตรวจอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Transrectal Ultrasonography ) สามารถเห็นต่อมลูกหมาก และกระเพาะปัสสาวะ
  • การส่องกล้องดูภายในกระเพาะปัสสาวะ และต่อมลูกหมาก (Cystoscopy)
  • การตรวจ X-ray ฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำ และเมื่อสีขับเข้าทางเดินปัสสาวะ แพทย์จะสามารถเห็นตำแหน่งและความรุนแรงของการอุดกลั้นปัสสาวะ (Intravenous Pyelography - IVP)
  • การตรวจวัดความแรงของปัสสาวะ (Uroflowmetry)
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ดูอวัยวะและความผิดปกติในช่องท้องทั้งบนและล่าง(CT Whole Abdomen)
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ดูอวัยวะและความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ (CT KUB System)
  • การตรวจอัลตราซาวด์ทางเดินปัสสาวะ (Ultrasound KUB System)

การรักษาโรคทางระบบปัสสาวะชาย

  • การผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด (Radical Prostatectomy) เป็นการผ่าตัดแบบเปิด เพื่อเอาต่อมลูกหมากที่เป็นมะเร็งรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด
  • การผ่าตัดโดยใช้กล้อง (Laparoscopic radical Prostatectomy) เป็นการผ่าตัดโดยใช้กล้อง เพื่อเอาต่อมลูกหมากที่เป็นมะเร็งรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด
  • การตัดต่อมลูกหมาก โดยการส่องกล้องผ่านอวัยวะเพศ เป็นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อให้ปัสสาวะไหลคล่อง (Transurethral Resection of the Prostate-TURP)
  • การใส่ตัวถ่างขยายท่อปัสสาวะบริเวณต่อมลูกหมาก(Prostatic stent) ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดได้
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) คือการใช้ยาต้านมะเร็ง ซึ่งสามารถผ่านไปถึงทุกส่วนของร่างกายเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยมีแผนกเคมีบำบัด ภายใต้การดูแลของ ทีมสหสาขาวิชาชีพด้านการรักษาโรคมะเร็ง​
คลินิกทางเดินปัสสาวะเด็ก

ให้การบริการตรวจวินิจฉัย รักษา และให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคทางเดินปัสสาวะเด็ก ดังต่อไปนี้

  • การซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะ (Physical Examination by Urologist)
  • การตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีเลือดหรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urine Analysis)
  • การเก็บปัสสาวะตรวจเพาะเชื้อทางห้องปฏิบัติการ (Urine Culture)
  • การตรวจ X-ray ฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำ (Intravenous Pyelography - IVP) และเมื่อสีขับเข้ากระเพาะปัสสาวะ แพทย์จะสามารถเห็นความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
  • การตรวจเอกซเรย์พิเศษ เพื่อดูจากทำงานของกระเพาะปัสสาวะในการขับปัสสาวะ (Voiding Cystourethrogram) ซึ่งเป็นการดูว่า กระเพาะปัสสาวะสามารถขับปัสสาวะได้ดีเพียงไร และมีการไหลย้อนกลับของปัสสาวะ (Reflux) ขึ้นไปยังบริเวณไตบ้างหรือไม่ โดยการใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปในท่อปัสสาวะ และใส่สีที่สามารถเอกซเรย์เห็นได้ จากนั้นรังสีแพทย์จะทำการดูว่า มีสีไหลย้อนขึ้นผิดปกติหรือไม่ และการหดตัวของกระเพาะปัสสาวะเป็นอย่างไร
  • การตรวจอัลตราซาวด์ระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อดูความผิดปกติ (Ultrasound KUB System)
  • บริการด้านการรักษาโรคทางเดินปัสสาวะในเด็ก รับปรึกษาปัญหาเด็กปัสสาวะผิดปกติหรือติดเชื้อทางเดินปัสสาวะทั่วไป