แผนกควบคุมน้ำหนัก

ให้การป้องกันและรักษาโรคอ้วน (Obesity Prevention And Management) รวมทั้งการประเมิน และการแก้ปัญหาทางโภชนาการ (Nutrition Assessment and Intervention) ด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสมและโภชนบำบัด ศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดลดน้ำหนัก และทีมนักโภชนบำบัด ให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัยประกอบการให้แนวทางการควบคุมน้ำหนักและลดความอ้วน รวมทั้งให้คำปรึกษาในคนปกติที่ขาดสารอาหาร วิตามิน เกลือแร่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยโรคมะเร็ง รวมทั้งให้คำปรึกษาผู้ป่วยที่ลดน้ำหนักโดยการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารและการผ่าตัดกระเพาะอาหารทั้งก่อนและหลังการรักษาผ่าตัด

ขอบเขตการให้บริการ และบริการเฉพาะทาง แผนกควบคุมน้ำหนัก

บริการการรักษา
  •  ให้บริการการป้องกันและรักษาโรคอ้วน
  •  การประเมินและการแก้ไขปัญหาทางด้านโภชนาการสำหรับคนปกติที่ขาดสารอาหารเช่นขาดวิตามิน เกลือแร่
  •  บริการการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำสำหรับผู้ป่วยที่ขาดสารอาหารหรือผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  •  โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง
  •  บริการตรวจวินิจฉัยประเภทของโรคด้วยการตรวจระดับฮอร์โมน  ให้คำปรึกษาปัญหาฮอร์โมนเพศ  ให้ฮอร์โมนเพศในผู้ป่วยหลังแปลงเพศ หรือขาดฮอร์โมนเพศในผู้หญิง หรือฮอร์โมนเพศในผู้ชาย
  •  ให้คำปรึกษาผู้ป่วยที่ลดน้ำหนักโดยการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารและการผ่าตัดกระเพาะอาหารทั้งก่อนและหลังการรักษาผ่าตัด
  •  โภชนบำบัดสำหรับผู้ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารหรือผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ  ให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักด้วยการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารหรือผ่าตัดลดขนาดกระเพาะทั้งก่อนและหลัง การลดน้ำหนักด้วยการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารและผ่าตัดลดขนาดกระเพาะเป็นวิธีการหนึงที่จะช่วยลดน้ำหนักเนื่องจากบอลลูนที่ขยายในกระเพาะอาหาร จะช่วยทำให้ปริมาตรกระเพาะอาหารมีขนาดเล็กลง ทำให้ทานอาหารได้น้อย จึงส่งผลในการลดน้ำหนัก อย่างไรก็ตามในช่วงแรกสิ่งสำคัญที่สุดในการประสบความสำเร็จคือ การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ลดปริมาณอาหารลง เพราะถึงแม้จะใส่บอลลูน แต่ยังรับประทานอาหารมากเช่นเดิม ก็ยากที่น้ำหนักจะลดลงได้ตามเป้าหมาย สุดท้ายเมื่อนำบอลลูนออก การจะรักษาน้ำหนักคงที่คือการควบคุมอาหารอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
การตรวจเพื่อค้นหาความเสี่ยงเบื้องต้นต่อกลุ่มโรคเมตาบอลิก (Metabolic Syndrome)

     โดยคำนวนจากค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) และตรวจวิเคราะห์สารประกอบของร่างกายด้วยเครื่อง Inbody ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) เป็นการดูความสัมพันธ์ ระหว่างน้ำหนักและส่วนสูง เนื่องจากคนเราเมื่อสูงถึงจุดหนึ่งแล้วก็จะหยุดสูง มีแต่น้ำหนักเท่านั้นที่จะเพิ่มขึ้น  ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น มีผลต่อสุขภาพ นำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และเส้นเลือดหัวใจอุดตัน คนมีดัชนีมวลกายสูงจะมีไขมันในร่างกายมากกว่าปกติ  ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และเส้นเลือดหัวใจอุดตัน

     การควบคุมน้ำหนักจะได้ผลดีและต่อเนื่อง จำเป็นต้องทราบถึงปัญหาของน้ำหนัก ว่าเกิดจาก น้ำหนักเกินหรือต่ำกว่าเกณฑ์หรือเป็นโรคอ้วน ดังนั้น ผู้รับบริการจะได้รับการตรวจด้วยเครื่อง Inbody ทุกราย และได้ประเมินภาวะสุขภาพอื่นๆ อาทิเช่น ทุพโภชนาการ ภาวะเสียสมดุลเกลือแร่และน้ำ

เครื่องมือที่ใช้

   การตรวจวิเคราะห์สารประกอบของร่างกายด้วยเครื่อง Inbody  เป็นเครื่องมือที่สามารถบอกผลได้ทันที ไม่ต้องเตรียมตัวอดอาหาร แพทย์สามารถนำข้อมูลที่ได้  มาประกอบการวิเคราะห์โรคหรือวินิจฉัยโรคได้ ทั้งนี้เครื่อง Inbody สามารถวิเคราะห์สารประกอบต่างๆ ของร่างกายได้ดังนี้

  •  การวัดปริมาณน้ำภายในเซลล์ (Intracellular Water)
  •  การวัดปริมาณน้ำภายนอกเซลล์ (Extracellular Water)
  •  การวัดปริมาณโปรตีนในร่างกาย (Protein)
  •  การวัดสัดส่วนไขมันของร่างกาย (Percent Body Fat : PBF)
เหมาะสำหรับ
  •  ผู้รักการออกกำลังกาย สามารถใช้การตรวจ InBody ในลักษณะของการติดตามประเมินผลการออกกำลังกาย (Before and After) เช่น ตรวจการลดลงของไขมัน เปอร์เซ็นต์กล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งบอกปริมาณของกล้ามเนื้อแบบเฉพาะเจาะจงลงไปในแต่ละส่วนของร่างกาย เช่น แขน ขา การตรวจติดตามผลทุก ๆ 3 เดือน จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยติดตามผลของการออกกำลังกายของท่านได้ เป็นอย่างดี
  •  บุคคลที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก เครื่อง InBody จะแสดงผล ปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายของคุณต้องการต่อวัน บอกผลดัชนีมวลกายและน้ำหนักที่ควรละลด
     บุคคลทั่วไป เครื่องนี้สามารถบอกปริมาณไขมันในร่างกาย ซึ่งจะสะท้อนความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้
ทีมแพทย์
  •  นายแพทย์ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย  สาขาที่เชี่ยวชาญ  อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม
  •  พญ.มนัสวินี ชูเสน สาขาที่เชี่ยวชาญ  อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม
  •  นพ.วิศิษฐ์ เกษมเสริมวิริยะ สาขาที่เชี่ยวชาญศัลยกรรม การผ่าตัดส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น มหาวิทยาลัยคิวชู ประเทศญี่ปุ่น
บุคลากรทางการแพทย์
  •  นักโภชนบำบัด
  •  นักกำหนดอาหาร

  แพคเกจและโปรแกรมตรวจ แผนกควบคุมน้ำหนัก 


 โรคอ้วนในเด็ก... โรคอ้วนในเด็ก เป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการใส่ใจกันมากนัก เนื่องจากเด็กอ้วนจะถูกมองว่า  "น่ารักสมบูรณ์ดี"...คลิ๊กเพื่ออ่านต่อ