ศูนย์รักษาโรคหลอดเลือดครบวงจร

โรงพยาบาลนนทเวช  ให้บริการรักษาภาวะหลอดเลือดโต,  หลอดเลือดตัน, หลอดเลือดตีบ, หลอดเลือดแตก, หลอดเลือดสำหรับฟอกไต, แผลเท้าเบาหวาน (Vascular) และหลอดเลือดอื่นๆ แบบไม่ต้องผ่าตัดและผ่าตัด โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดโดยเฉพาะ

ขอบเขตการให้บริการ และบริการเฉพาะทาง ศูนย์รักษาโรคหลอดเลือดครบวงจร

 

ให้บริการรักษาภาวะ

หลอดเลือดโต
หลอดเลือดตัน
หลอดเลือดตีบ
หลอดเลือดแตก

หลอดเลือดสมอง

ให้ยาละลายลิ่มเลือด (rTPA)
ใส่ขดลวดที่หลอดเลือดสมองรักษาหลอดเลือดสมองโป่งพอง (Coil Intervasion)
ขยายหลอดเลือดสมองด้วนบอลลูน
ลากก้อนเลือดที่หลอดเลือดสมอง (Clot Retriever)
ผ่าตัดรักษาหลอดเลือดสมองแตก
ผ่าตัดระบายเลือดที่คลั่งในสมองลงช่องท้อง (VP Shunt)
ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่สมองรักษาโรคพากินสัน (DBS)
ผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดที่สมอง (By Pass)

หลอดเลือดหัวใจ

ฉีดสีหลอดหัวใจ (CAG)
ฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ และใส่บอลลูนขยายหลอดเลือด
ผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (CABG)
ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่หัวใจ (Pacemaker)
ใส่บอลลูนขยายลิ้นหัวใจ
 

หลอดเลือดสำหรับฟอกเลือด

ผ่าตัดทำหลอดเลือดสำหรับฟอกเลือดผู้ป่วยโรคไต

แผลเท้าเบาหวาน (Vascular)

หัตถการใส่บอลลูนขยายหลอดเลือดที่ขา (ผู้ป่วยเบาหวาน)
หัตถการใส่บอลลูนขยายหลอดเลือดที่แขน (ผู้ป่วยเบาหวาน)

หลอดเลือดอื่นๆ

การรักษามะเร็งตับด้วยการให้เคมีบำบัดผ่านทางหลอดเลือดแดง TACE (Transarterial Chemoembolization)
 

RADIOFREQUENCY ABLATION
บทความโดย แพทย์หญิงเอกอนงค์  วรกิตสิทธิสาธร
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขารังสีร่วมรักษา

การจี้ทำลายก้อนเนื้อมะเร็งด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

   เป็นวิธีการรักษามะเร็งตับ หรือมะเร็งชนิดอื่นที่กระจายมายังตับ ด้วยการใช้เข็มขนาดเล็กมีคุณสมบัติให้ความร้อนที่ปลายเข็ม เผาทำลายก้อนเนื้อ เหมาะสำหรับการรักษามะเร็งตับที่ก้อนมีขนาดเล็ก โดยการรักษาวิธีนี้ ปลอดภัย รุกล้ำร่างกายน้อย มีผลข้างเคียงน้อย ไม่มีแผลผ่าตัด พักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพียง 2-3 วัน และสามารถใช้วิธีนี้รักษาซ้ำได้เมื่อมีก้อนมะเร็งกลับเป็นซ้ำ

หลักการและกลไกในการรักษา

   เข็มความร้อน RFA ใช้หลักการของคลื่นวิทยุ ทำให้เกิดความร้อนที่ปลายเข็ม โดยใช้งานร่วมกับเครื่องผลิตพลังงานที่สามารถตั้งค่าให้พลังงานได้และแผ่นรองรับกระแสไฟฟ้าลงดิน พลังงานคลื่นวิทยุที่ถูกส่งออกไปจากขั้วไฟฟ้าจะชักนำให้เกิดไฟฟ้ากระแสสลับขึ้นภายในอวัยวะ หรือเนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบปลายเข็ม RFA พลังงานเหล่านี้จะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนที่อุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 90 องศาเซลเซียส เพื่อทำลาย ก้อนมะเร็งโดยรอบปลายเข็มในรัศมีประมาณ 3-5 ชั่วโมง และความร้อนจากเข็มจะทำลายเซลล์มะเร็งอย่างถาวร

   ตัวเข็มจะเป็นตัวนำพลังงานเข้ามาภายในตับ ส่งผ่านไปยังก้อนเนื้องอกที่ต้องการเผาทำลาย ก่อนการรักษาผู้ป่วยจะได้รับการดมยาสลบ แพทย์จะสอดเข็มผ่านทางผิวหนังเข้าไปในตับ เพื่อไปยังก้อนมะเร็งที่ต้องการรักษา โดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์และเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เป็นเครื่องมือระบุตำแหน่ง และยืนยันความถูกต้องของตำแหน่งเข็มระหว่างทำการรักษา รวมระยะเวลาในการทำการรักษาประมาณ 1 ชั่วโมง


RFA เหมาะกับผู้ป่วยกลุ่มใด

   เหมาะใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งตับหรือมะเร็งชนิดอื่นที่มากระจายมายังตับ ที่ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก โดยทั่วไปคือขนาดไม่เกินกว่า 5 ซม. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาโดยการผ่าตัดตับได้ เช่น มีภาวะตับแข็งมาก มีโรคประจำตัวอื่นๆที่มีความเสี่ยงในการทำผ่าตัด, ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดจากก้อนมะเร็ง และยังสามารถใช้เพื่อลดขนาดก้อนมะเร็งก่อนผ่าตัดเพื่อช่วยให้ทำผ่าตัดง่ายขึ้น

การเตรียมตัวก่อนการรักษา

1.รับผู้ป่วยเข้าไว้ในโรงพยาบาลก่อนการรักษา 1 วัน
2.เจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ค่าการแข็งตัวของเลือด การทำงานของตับและไต
3.ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
4.งดน้ำและอาหาร อย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการรักษา
5.หลังการรักษา พักฟื้นได้ที่ห้องพักและสังเกตอาการที่โรงพยาบาลอีก 1 คืน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถกลับบ้านในวันรุ่งขึ้นหลังการรักษาได้

การปฏิบัติตัวหลังการรักษา

1.หลังออกจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ งดเว้นกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก เช่น การออกกำลังกายหักโหม การยกของหนัก
2.หลังการรักษา อาจมีอาการปวดจุกท้อง บริเวณที่ทำการรักษา สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ อาจพบมีอาการจุกแน่นได้อีก 2-3 วันหลังการรักษา
3.ผู้ป่วยจะได้รับการนัดหมายเพื่อตรวจติดตามผลการรักษาภายใน 4-6 สัปดาห์ โดยมีการเจาะเลือด และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

*หมายเหตุ ลักษณะของเข็มและเครื่องกำเนิดพลังงานอาจมีลักษณะแตกต่างกันตามบริษัทผู้ผลิต

หลอดเลือดขอด

เทคโนโลยีการรักษา "เส้นเลือดขอด" ไม่ต้องผ่าตัด แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว

   การรักษาเส้นเลือดขอดด้วย Radio Frequency (RF) ถือเป็นทางเลือกใหม่ที่ถูกค้นคิดขึ้นมาเพื่อรักษาเส้นเลือดขอดที่ขา (Varicose Veins) เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดซึ่งใช้หลักการเดียวกับเลเซอร์ โดยใช้สายสวน (Fiber Optic) สอดเข้าไปและใช้พลังงานของ Radio Frequency ทำให้เกิดความร้อนจะทำให้เส้นเลือดที่มีปัญหาหดตัว ซึ่งร่างกายจะตอบสนอง โดยการสร้างเส้นใยทำให้เส้นเลือดนั้นตีบและอุดตันไปในที่สุด

ปัจจัยที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด

- อายุมากขึ้น
- ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ชาย 3 เท่า
- รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด
- การตั้งครรภ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
- ภาวะอ้วน
- การยืนหรือนั่งนานๆ
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นเส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอด...ปล่อยไว้อันตราย! ทำให้เกิด

#ลิ่มเลือดอุดตัน
#เส้นเลือดดำอักเสบ
#เป็นตะคริวบ่อย

โรคเส้นเลือดขอด

   โรคเส้นเลือดขอด ภัยเงียบที่แฝงอยู่กับกิจวัตรประจำวันของตัวคุณเอง  โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ดูแลเอาใจใส่เรียวขาคู่สวยเป็นพิเศษ เพราะหากเกิดเส้นเลือดขอดขึ้นมาคงเสียความมั่นใจในการสวมใส่กระโปรงหรือกางเกงขาสั้นไม่ใช่น้อย เพราะจากสถิติการเกิดเส้นเลือดขอด จะพบมากในผู้หญิง ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีน้ำหนักมาก  และผู้ที่นั่งหรือยืนนาน ๆ

   เส้นเลือดขอด เป็นโรคที่หลอดเลือดดำในบริเวณใต้ผิวหนังชั้นตื้นมีการโตขยายขนาด คดเคี้ยว สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณขา หลอดเลือดดำจะลำเลียงเลือดกลับเข้าสู่หัวใจในความดันประมาณ 20 มิลลิเมตรปรอท โดยที่เลือดในกล้ามเนื้อขาจะเข้าไปในหลอดเลือดดำส่วนลึก ส่วนเลือดจากผิวหนังและเนื้อเยื่อที่อยู่รอบนอกจะไหลไปตามหลอดเลือดดำ เมื่อมีความผิดปกติของการรวมกันของหลอดเลือดดำที่ตำแหน่งนี้จะทำให้ เลือดย้อนลงตามหลอดเลือดดำส่วนตื้น ทำให้มีการโป่งขยายตัวของหลอดเลือดดำส่วนปลายที่เรียกว่า ภาวะหลอดเลือดขอด ซึ่งเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดดำที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมารับการรักษาจากแพทย์ที่พบบ่อยที่สุด

สาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดเลือดขอด
การทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น การยืน การนั่ง การเดิน เป็นเวลานานและต่อเนื่องจะทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก จะเกิดแรงดันภายในหลอดเลือดดำ 
น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ทำให้เกิดแรงดันสูงขึ้นภายในหลอดเลือดที่บริเวณขา เป็นเหตุให้เกิดเส้นเลือดขอดที่ขาได้
อายุที่เพิ่มขึ้น จะพบเส้นเลือดขอด มากขื้น ผนังหลอดเลือดดำจะมีความยืดหยุ่นน้อยลง อาจเกิดการอุดตันของเส้นเลือดสูง และลิ้นเล็กๆภายในหลอดเลือดเสื่อม ไม่สามารถปิดกั้นการไหลย้อนกลับของเลือดได้
ผู้หญิงมีโอกาสเกิดเส้นเลือดขอดมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิง การตั้งครรภ์ รวมถึงการรับประทานยาคุมกำเนิด
การตั้งครรภ์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย และมดลูกที่โตขึ้นกดหลอดเลือด จึงทำให้เกิดเส้นเลือดขอดที่ขา ปกติจะหายเองภายใน 3 เดือนหลังคลอด
หลอดเลือดขอดพบได้ 12% ของประชากรในประเทศตะวันตก อาจเกิดจากการรับประทานอาหารของท้องถิ่น
กรรมพันธ์ุ การมีประวัติคนในครอบครัวที่เคยเป็นเส้นเลือดขอดมาก่อน ย่อมมีความเสี่ยงสูง
อาการแสดงของภาวะหลอดเลือดขอด
ระยะแรก มักมีอาการปวดน่องหลังจากการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน แต่สักระยะหนึ่งจะค่อยๆ รู้สึกผ่อนคลายไปเอง
ระยะปานปลาง อาการปวดเมื่อยตุบๆ ตามน่อง และจะเริ่มมากขึ้นจนเป็นตะคริว มีอาการบวมที่เท้า เส้นเลือดดำโป่งพองบริเวณขาพับ ผิวหนังบริเวณนั้นหมองคล้ำ อาจมีเส้นเลือดออกตามผิวหนังเพราะเส้นเลือดขอดแตก
ระยะเป็นมาก อาการที่น่ากลัวที่สุดคือการแตกของเส้นเลือดขอด มีอาการตกเลือดอาจพบอาการแทรกซ้อนโรคผิวหนัง และแผลเรื้อรังรักษายาก
เมื่อไรจะต้องไปพบแพทย์
เส้นเลือดขอดโป่งพองมาก ผิวหนังแดง และเจ็บ ผิวอุ่น แสดงว่ามีการอักเสบ
มีแผลหรือผื่นบริเวณที่เกิดเส้นเลือดขอด
ผิวหนังบริเวณที่เกิดเส้นเลือดขอดหนาตัวและมีสีคล้ำ
มีเลือดออกจากเส้นเลือดขอด
อาการของเส้นเลือดขอดรบกวนคุณภาพชีวิต
เส้นเลือดขอดปรากฎอย่างชัดเจน
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดขอด

แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้จากประวัติและการตรวจร่างกายดูเส้นเลือดขอดที่ท่ายืน ท่านอน ท่านั่ง และแพทย์อาจจะส่งตรวจเพิ่มเติมทางรังสีวิทยา ในรายที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของหลอดเลือดดำส่วนลึก เช่น เคยมีประวัติขาบวม หรือมีแผลที่บริเวณข้อเท้า หรือลักษณะที่น่าสงสัยว่าอาจจะเป็นหลอดเลือดขอดที่เป็นแต่กำเนิด

 การรักษาโรคหลอดเลือดขอด
   การรักษาหลอดเลือดขอดมีหลายวิธี แพทย์จะแนะนำแนวทางรักษาเส้นเลือดขอดโดยพิจารณาจากอาการและลักษณะของแต่ละบุคคล ตั้งแต่การให้คำแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งประจำที่อยู่นาน ๆ ควบคุมน้ำหนักตัว และหมั่นออกกำลังกายด้วยการเดิน เพื่อเป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณรอบน่อง สำหรับในบุคคลที่มีอาการเส้นเลือดขอดเกิดขึ้นแล้วนั้น มีวิธีที่สามารถรักษาให้หายได้หลายวิธี แต่ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การฉีดยาเข้าหลอดเลือดขอด ทำให้เกิดการแข็งตัวและตีบตัน ตัดการไหลเวียนของหลอดเลือด เหมาะกับหลอดเลือดขอดที่มีขนาดเล็กกว่า 3 มิลลิเมตร หรือในกรณีทำการผ่าตัดรักษาหลอดเลือดขอดไปแล้ว แต่ยังมีหลอดเลือดขอดเล็กๆ หลงเหลืออยู่
การใช้เลเซอร์ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมจะใช้รักษาเส้นเลือดขอดขนาดเล็ก โดยจะส่งพลังงานเข้าไปทำลายเส้นเลือดขอด ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและไม่เจ็บตัวมาก  
ใส่ถุงน่องทางการแพทย์หรือการพันผ้ายืด  ถุงน่องจะช่วยพยุงกล้ามเนื้อตรงที่เป็นเส้นเลือดขอด มักจะให้ใส่หลังจากได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่น เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นกระชับ ป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอดซ้ำ
การผ่าตัดรักษาเส้นเลือดขอดออก  เหมาะกับเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ เส้นเลือดที่มีปัญหาแทรกซ้อน และในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการรักษา “เส้นเลือดขอด” ด้วย Radiofrequency (RF) ถือเป็นหัตถการที่ถูกคิดค้นขึ้นมารักษาเส้นเลือดขอดที่ขา (Varicose veins) เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัด โดยใช้สายสวนสอดเข้าไป และทำให้เกิดความร้อน โดยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency) พลังงานความร้อนจะทำให้เส้นขอดที่มีปัญหาหดตัว ซึ่งร่างกายจะตอบสนองโดยทำให้เส้นเลือดขอดนั้นตีบและอุดตันไปในที่สุด  ไม่ต้องผ่าตัด แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว

การดูแลตัวเองให้ห่างไกลปัญหาเส้นเลือดขอด
ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
สลับการสวมรองเท้าส้นเตี้ย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด 
ให้ยกขาสูงครั้งละ10-15 นาที วันละ 3-4 ครั้งโดยยกสูงระดับหน้าอก หรือยกขาสูงเมื่อนอนหรือนั่ง
งดการนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานานๆ
หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่ฟิตๆ หรือสวมใส่ชุดที่รัดเกินไป
ลดอาหารเค็ม และรับประทานผักผลไม้ให้มากเพื่อป้องกันอาการบวม
ถ้าหากต้องนั่งหรือยืนเป็นเวลานานให้ลุกเดินทุกชั่วโมง และขณะนั่งให้บริหารข้อเท้าตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาสลับกัน เหยียดเท้าและกระดกเท้าทำสลับกัน

ขอบคุณข้อมูล : นพ.สมบูรณ์ ทรัพย์วงศ์เจริญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมทั่วไปและผ่าตัดเส้นเลือดขอด

รายชื่อแพทย์ที่ให้บริการ
  • หลอดเลือดโต ตัน ตีบ แตก
    หลอดเลือดสำหรับฟอกเลือด
    แผลเท้าเบาหวาน (Vascular)
ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
1.ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ. โสภณ จิระสิริธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมหลอดเลือดและศัลยศาสตร์ปลูกถ่ายไต
2.นพ.ทม เอื้ออารีวิริยะกิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือด /ศัลยกรรมหลอดเลือดเทียมเพื่อการฟอกไต
ศัลยศาสตร์ทรวงอก
1.นพ.ชัยวุฒิ ยศถาสุโรดม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ทรวงอก
ศัลยศาสตร์ทั่วไปและผ่าตัดเส้นเลือดขอด
1.นพ.สมบูรณ์ ทรัพย์วงศ์เจริญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมทั่วไปและผ่าตัดเส้นเลือดขอด
INTERVENTION CARDIOLOGIST
1.นพ.วันชาติ โพธิ์ศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
2.นพ.ภูริช สุลัญชุปกร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
3.นพ.เอนก  กนกศิลป์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
4.นพ.เกษม  รัตนสุมาวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
5.รศ.นพ.ดิลก ภิยโยทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
6.นพ.พิสิษฐ หุตะยานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
ประสาทวิทยา
1.นพ.ชนาพัฒน์ ภัทรมัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา
2.นพ.พลสันต์ เรืองคณะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา
3.นพ.สิริชัย กิตติชาญธีระ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา
4.พญ.ชุมพิตา สุทธาภาศ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา
5.พญ.พัชราพร วรรณกิตติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา
6.พญ.สิรารัตน์ โมรรัต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา
7.นพ.อัคราวุฒิ วิริยะเวชกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา
8.พญ.อภิญญา จิระรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา
9.นพ.ก้องเกียรติ กุณฑ์กันทรากร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา
ศัลยกรรมระบบประสาท
1.นพ.วิรุณพร  พรหมพงศา ศัลยแพทย์ระบบประสาท
2.นพ.จักรี ธัญยนพพร ศัลยแพทย์ระบบประสาท
3.นพ.ภัทรวิทย์  รักษ์กุล ศัลยแพทย์ระบบประสาท
4.นพ.ไกรศรี จันทรา ศัลยแพทย์ระบบประสาท
หลอดเลือดอื่นๆ
รังสีร่วมรักษา
1.พญ.เอกอนงค์ วรกิตสิทธิสาธร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขารังสีร่วมรักษา

  แพคเกจและโปรแกรมตรวจ ศูนย์รักษาโรคหลอดเลือดครบวงจร