ศูนย์หัวใจ

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนนทเวช ให้บริการตั้งแต่การตรวจคัดกรองโรคหัวใจและหลอดเลือด การตรวจวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การรักษา ป้องกัน ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพโรคหัวใจและระบบหลอดเลือด โดยทีมผู้แพทย์เชี่ยวชาญด้านหัวใจ พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย

ขอบเขตการให้บริการ และบริการเฉพาะทาง ศูนย์หัวใจ

   คณะแพทย์ของศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนนทเวช ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจในสาขาต่างๆ ทั้งอายุรแพทย์ด้านหัวใจ ศัลยแพทย์หัวใจ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ นอกจากนี้แล้ว ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนนทเวช ยังมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะ ได้แก่ พยาบาลที่ผ่านการอบรมทางด้านหัวใจโดยตรง เภสัชกร นักกำหนดอาหาร และนักกายภาพบำบัด
  •  การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ
  •  การรักษาโรคหัวใจ
  •  ศัลยกรรมหัวใจและช่องอก
  •  การบริการทางการแพทย์
  •  การฟื้นฟูสมรรถภาพโรคหัวใจและระบบหลอดเลือด
การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ
  • 1.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการวินิจฉัยโรคหัวใจเบื้องต้น ด้วยการตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจบีบตัว โดยคลื่นไฟฟ้าจะช่วยบอกจังหวะการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจ บอกขนาดห้องหัวใจ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • 2.การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography) เป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiography) ด้วยหลักการสะท้อนกลับของคลื่นสียงความถี่สูงซึ่งจะส่งผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจโดยหัวตรวจชนิดพิเศษ ช่วยในการวินิจฉัยโรค พยากรณ์โรค ตรวจหาความรุนแรง และติดตามผลการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจแต่กกำเนิด โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคกล้ามเนื้อใจพิการ โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ
  • 3.การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test) การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีนี้จะช่วยบอกได้ว่ามีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบซ่อนเร้นอยู่หรือไม่ โดยทดสอบเดินบนเครื่องออกกำลังกายให้หัวใจทำงานเต็มที่ และดูการเปลี่ยนแปลงของกราฟหัวใจเมื่อมีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ  ซึ่งเป็นผลจากภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดหัวใจตีบนั่นเอง
  • 4.การบันทึกคลื่นหัวใจ 24 ชั่วโมง รวมถึงการเฝ้าระวังความผิดปกติ (Holter Monitering ECG) เป็นการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ไว้กับตัวท่านสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือทำงานได้ตามปกติ เพื่อตรวจดูลักษณะของคลื่นหัวใจในขณะผู้ป่วยมีอาการผิดปกติหรือคลื่นหัวใจที่ผิดปกติแม้จะไมมีอาการภายในช่วงเวลา 24-48 ชั่วโมง โดยอาการตรวจนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นครั้งคราว หน้ามืดคล้ายจะเป็นลมอยู่เสมอ เวียนศีรษะ ใจเต้นแรงผิดปกติเป็นประจำแต่บางครั้งขณะมาพบแพทย์อาการดังกล่าวไม่ปรากฏ
  • 5. การศึกษาคลื่นไฟฟ้าภายในหัวใจ (หัวใจเต้นผิดจังหวะ)
  • 6.การวินิจฉัยโดยการสวนหัวใจ 
    •  การฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ (การสวนหัวใจ)
    •  การฉีดสีดูหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง
    •  การฉีดสีดูหลอดเลือดเลี้ยงแขนขา
การรักษาโรคหัวใจ

   ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนนทเวช ให้การดูแลผู้ป่วยทุกท่านอย่างทุ่มเทและคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ โดยทางโรงพยาบาลมีบริการตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีฉุกเฉินที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จะมีการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจภายใน 90 นาทีตามมาตรฐานสากล

ระบบกระแสไฟฟ้าหัวใจ 
  •  การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจรวมถึงการรักษาด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (ablation)
  •  การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Permanent Pacemaker) เป็นการรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นช้าซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการวูบหมดสติหรือเสียชีวิตเฉียบพลันได้ด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจไว้ในผนังอก
กลุ่มหลอดเลือดหัวใจ
  •  การสวนหัวใจและการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ
  •  การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวนและใส่ขดลวดค้ำยัน (Percutaneous Transluminal Coronary Angiography) เป็นการขยายหลอดเลือดแดงของหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon) และ/หรือใส่ขดลวด (Stent) ในผู้ป่วยที่มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอกและเห็นผลการรักษาที่ชัดเจน ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ของแพทย์ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ
กลุ่มหลอดเลือด
  •  การใส่ขดลวดค้ำยันบริเวณหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง
  •  การใส่ขดลวดค้ำยันบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต
  •  การใส่ขดลวดค้ำยันบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงแขนขา
กลุ่มหัวใจพิการแต่กำเนิดผู้ใหญ่

   โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ตรวจพบ เช่น ผนังกั้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียวจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการด้วยการผ่าตัดเพื่อป้องกันสภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตถึงแม้จะไม่มีอาการในขณะนี้ เช่นการติดเชื้อในช่องปอดภาวะความดันในเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงปอดสูง

  •  การผ่าตัดปิดรูรั่วผนังหัวใจห้องบน
  •  การผ่าตัดปิดรูรั่วผนังหัวใจห้องล่าง
ศัลยกรรมหัวใจและช่องอก
กลุ่มหลอดเลือดหัวใจ 
  •  การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบที่ใช้และไม่ใช้เครื่องปอด-หัวใจเทียม
  •  การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดมาแล้ว
กลุ่มลิ้นหัวใจ 
  •  การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Valve Replacement) เมื่อลิ้นหัวใจผิดปกติหรือสียหายมากจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจก็มีความจำเป็น ซึ่งอาจเป็นลิ้นหัวใจที่ทำจากโลหะหรือลิ้นหัวใจที่ทำจากเนื้อเยื่อของมนุษย์เองหรือจากสัตว์ก็ได้ ลิ้นหัวใจทั้งสองชนิดมีประโยชน์และข้อบ่งชี้ในการใช้งานที่แตกต่างกันตามลักษณะของผู้ป่วย การผ่าตัดลิ้นหัวใจโดยมากใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง
  •  การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ (Valve Repair) การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกติที่สามารถซ่อมได้ โดยอาจไม่จำเป็นต้องกินยาพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน คือการเป็นอัมพาตจากการที่มีเลือดออกในสมอง การผ่าตัดด้วยวิธีนี้มีประโยชน์ที่ใช้เนื้อเยื่อของตัวเอง
กลุ่มหัวใจพิการแต่กำเนิดผู้ใหญ่ 
  •  การผ่าตัดซ่อมแซมรูรั่วผนังหัวใจห้องบน
  •  การผ่าตัดซ่อมแซมรูรั่วผนังหัวใจห้องล่าง
  •  การผ่าตัดที่มีความซับซ้อนของหัวใจพิการแต่กำเนิด
กลุ่มหลอดเลือด 
  •  การผ่าตัดซ่อมแซมหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง
  •  การผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง
  •  การผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในทรวงอก
การบริการทางการแพทย์
  •  การตรวจวินิจฉัยทางหัวใจ
  •  การผ่าตัดหัวใจ
  •  การติดตามการทำงานของคลื่นหัวใจ
  •  การตรวจเกี่ยวกับสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
  •  การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (192 Slide CT Scan) จากอดีตที่ผ่านมา การวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจที่มีคราบไขมันและหินปูนเกาะที่ผนังเส้นเลือด ต้องใช้สายสวนเข้าไปตามหลอดเลือดแดงแล้วฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ แต่ปัจจุบันสามารถตรวจดูคราบหินปูนที่ผนังเส้นเลือดหัวใจ โดยใช้  192 Slide CT Scan โดยไม่ต้องฉีดสีหรือใส่สายสวนในหลอดเลือด  และสามารถตรวจพิเศษต่อไปว่าคราบหินปูนนั้นทำให้ขนาดหลอดเลือดหัวใจตีบแคบไปมากน้อยเท่าใด โดยการฉีดยาเข้าทางสายน้ำเกลือที่ข้อพับแขน โดยนิ่งกลั้นหายใจประมาณ 12 วินาที หลังจากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสร้างภาพหลอดเลือดหัวใจว่ามีภาวะตีบแคบมากน้อยเพียงไร ต้องทำการรักษาหรือติดตามผลอย่างไร การตรวจโดยใช้  192 Slide CT Scan ถือเป็นการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นที่มีความแม่นยำสูง
  •  การตรวจปฏิบัติการหัวใจ
  •  ห้องบำบัดผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ
โปรแกรมการรักษา
  •  การผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจ
  •  การตรวจด้วยการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ
  •  การตรวจด้วยการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจโดยใช้หลอดเลือดแดงที่ข้อมือ
  •  การรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน
  •  การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ และขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน
การฟื้นฟูสมรรถภาพโรคหัวใจและระบบหลอดเลือด
  •  โปรแกรมฟื้นฟูโดยทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง
  •  ติดตามและแนะนำวิธีการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
  •  ตรวจคัดกรองโรคหัวใจตามความเสี่ยงเฉพาะรายบุคคล

 

 


  แพคเกจและโปรแกรมตรวจ ศูนย์หัวใจ