ศูนย์รักษ์เต้านม

มะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของผู้หญิงทั่วโลกและเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย ศูนย์รักษ์เต้านมโรงพยาบาลนนทเวช เป็นศูนย์รวมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเต้านม ทั้งศัลยกรรมเต้านม รังสีแพทย์ วิสัญญีแพทย์ อายุรแพทย์โรคมะเร็ง พยาธิแพทย์ ทีมสหสาขาวิชาชีพด้านเต้านม ที่ประจำศูนย์รักษ์เต้านมที่จะให้คำแนะนำ ในการตรวจค้นหาความเสี่ยงก่อนมีความผิดปกติ การรักษาและให้คำปรึกษาเรื่องเต้านม  “มะเร็งเต้านม รู้เร็ว... รีบรักษา มีโอกาสหายสูง”

ขอบเขตการให้บริการและบริการเฉพาะทาง ศูนย์รักษ์เต้านม

     ให้บริการดูแลสุขภาพสตรีที่มีปัญหาเกี่ยวกับเต้านม ไม่ใช่เฉพาะมะเร็งเต้านมเท่านั้น แต่รวมถึงการรักษาผ่าตัด เพื่อเสริมสร้างเต้านมใหม่สำหรับผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดเอาเต้านมออก รวมทั้งการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ (Sentinel Lymph Node Biopsy)

     มะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้หญิงทั่วโลก และเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย ศูนย์รักษ์เต้านม โรงพยาบาลนนทเวช มีความพร้อมในเรื่องการดูแลเต้านม ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเต้านม ทั้งศัลยแพทย์เต้านม รังสีแพทย์ วิสัญญีแพทย์ อายุรแพทย์โรคมะเร็ง พยาธิแพทย์ ทีมสหสาขาวิชาชีพเคมีบำบัด และทีมสหสาขาวิชาชีพด้านเต้านม ที่พร้อมให้คำแนะนำในการตรวจค้นหาความเสี่ยงก่อนมีความผิดปกติ ทำให้สามารถพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกๆ การรักษาให้หายจึงมีมากขึ้นตามลำดับ

การบริการ
  1. 1. การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital Mammogram) เป็นการตรวจเต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์พิเศษในการค้นพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่ไม่สามารถตรวจพบจากการตรวจร่างกาย จะมองเห็นลักษณะความเข้มทึบที่ต่างกันของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด เช่น เนื้อเยื่อเต้านม หลอดเลือด ไขมัน หินปูน หรือกลุ่มแคลเซียมที่เกิดจากมะเร็งท่อน้ำนมในระยะแรก ก้อนเนื้องอกที่มีขนาดเล็ก หรือตรวจติดตามหลังการผ่าตัด
  2. 2. อัลตราซาวด์เต้านม (Breast Ultrasound) เป็นการตรวจเต้านมโดยรังสีแพทย์และใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของเต้านมในสตรีที่อายุยังน้อยและใช้ตรวจเพิ่มเติมจากการตรวจแมมโมแกรม เพื่อวินิจฉัยแยกก้อนถุงน้ำและยังใช้ตรวจในกรณีเต้านมมีความหนาแน่นสูง 
  3. 3. การตรวจเต้านมเบื้องต้นโดยศัลยแพทย์เต้านม (Breast Examination by Breast Surgeon)
  4. 4. บริการสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Self Breast Examination) แบบง่ายๆ มี 2 วิธี
  •  การตรวจแบบวนเป็นวง (Spiral Method) เริ่มตรวจจากด้านบนของเต้านม โดยใช้มือวนเป็นวงใหญ่ไปให้ทั่วรอบๆ เต้านม เพื่อตรวจหาดูว่ามีก้อนผิดปกติ หรือเนื้อแข็งๆ หรือไม่ จากนั้นวนมือให้เป็นวงเล็กลงไปเรื่อยๆ อย่างน้อย 3 วง จนถึงหัวนม ทำเช่นนี้ 2 ครั้ง ครั้งแรกลูบเบาๆ และอีกครั้งกดให้แรงขึ้น
  •  การตรวจแบบแบ่งเป็นตาราง (Grid Method) เป็นการตรวจเต้านม โดยแบ่งพื้นที่บริเวณจากกระดูกไหปลาร้าไปยังส่วนใต้เต้า นมและจากรักแร้ไปยังกระดูกอก เป็นช่องตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆ ในแต่ละช่องเล็กๆ ใช้มือวนไปเป็นวงแบบก้นหอย โดยลูบเบาๆก่อน และกดให้แรงขึ้นอีกครั้ง เลื่อนมือทำเช่นเดิมในช่องถัดไป ค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งตรวจทั่วเต้านม
  1. 5. การเจาะดูดเซลล์จากก้อนเต้านมส่งตรวจ (Fine Needle Biopsy) เป็นการเจาะดูดเซลล์จากเต้านมส่งตรวจ  โดยแพทย์จะใช้เข็มเล็กๆ แทงไปที่ก้อนที่ต้องการเจาะดูดเซลล์ แล้วนำเซลล์ส่งตรวจทางพยาธิวิทยาดูว่าเป็นเซลล์ปกติ หรือเซลล์มะเร็ง
  2. 6. การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจโดยไม่ต้องผ่าตัด (Core Needle Biopsy) เป็นการตัดชิ้นเนื้อออกมาพิสูจน์โดยไม่ต้องผ่าตัด เพื่อหาความผิดปกติของชิ้นเนื้อเต้านม การตัดชิ้นเนื้อจะใช้ปืนตัดชิ้นเนื้อแบบอัตโนมัติ(Automatic Biopsy Gun) เมื่อได้ชิ้นเนื้อก็จะนำส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
  3. 7. การแทงเข็มบอกตำแหน่งในก้อนที่มีขนาดเล็กมาก เพื่อช่วยในการผ่าตัด (Needle Localization Biopsy) เป็นการแทงเข็มเพื่อบอกตำแหน่งก้อนเนื้อ หรือรอยโรคที่ผิดปกติในเต้านม ในกรณีที่คลำไม่ได้ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์เต้านม เพื่อใช้ในการผ่าตัดก้อนเนื้อหรือรอยโรคที่ผิดปกติ สำหรับรอยโรคที่อาจจะเป็นมะเร็งระยะเริ่มต้น
  4. 8. การผ่าตัดรักษาก้อนเนื้อร้ายที่เต้านม แบ่งการรักษาเป็น 2 ส่วน
  • 8.1 การผ่าตัดเต้านม
       8.1.1 การผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด (Mastectomy) เป็นการผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมดรวมทั้งบริเวณหัวนม เพื่อไม่ให้มีมะเร็งเหลือที่เต้านม
  •    8.1.2 การผ่าตัดแบบเก็บรักษาเต้านม (Breast Conserving Therapy) เป็นการตัดแต่ก้อนมะเร็งออกโดยเก็บเต้านมไว้ แต่วิธีนี้ ต้องกระทำร่วมกับการฉายรังสีที่เต้านมด้วย (ฉายทุกวันติดต่อกันประมาณ 5 สัปดาห์) โดยผลการรักษาเทียบเท่ากับการผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด
  •    8.1.3 การผ่าตัดเพื่อเสริมสร้างเต้านม Breast Reconstruction (TRAM Flap, LD Flap) แบ่งออกเป็น 3 วิธีคือ
    •  การผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่สำหรับผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งหมด เป็นการผ่าตัดที่เอากล้ามเนื้อและผิวหนังบริเวณหน้าท้องมาสร้างเป็นเต้านมใหม่ (TRAM flap) ซึ่งสามารถผ่าตัดเสริมไปพร้อมๆ กับการตัดเต้านมหรือมาทำภายหลังก็ได้
    •  การผ่าตัดเอากล้ามเนื้อและไขมันบริเวณหลังด้านข้าง (LD flap) มาเสริม ทำให้รูปร่างใกล้เคียงกับเต้านมอีกข้างได้สำหรับผู้ป่วยที่ตัดเต้านมออกบางส่วน ซึ่งบางรายเนื้อเต้านมถูกตัดออกจำนวนมาก ทำให้เต้านมเสียรูป
    •  การผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่โดยใช้ซิลิโคน ในผู้ป่วยที่ถูกตัดเต้านมไปแล้วต้องการสร้างเต้านมใหม่
  • 8.2 การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้  ในอดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกรายต้องได้รับการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมด แต่รายที่มีอาการข้างเคียงอาจทำให้แขนบวมและชาได้ แต่ยังมีอีก 1 วิธีใหม่คือ
    •  การผ่าตัดหาต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลที่รักแร้ เพื่อดูการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ (Sentinel Lymph Node Biopsy)  เพื่อหาเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ต่อมแรก แล้วนำไปตรวจก่อนว่ามีเซลล์มะเร็งหรือไม่ หากไม่พบก็ไม่ต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองอื่นโดยไม่จำเป็น

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สุขภาพสตรี
โทร 0-2596-7901 หรือ 0-2596-7888


  แพคเกจและโปรแกรมตรวจ ศูนย์สุขภาพสตรี 

 


มะเร็งเต้านม รู้เร็ว รีบรักษา หายขาดได้... มะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของผู้หญิงทั่วโลก และเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย แต่เนื่องจากปัจจุบันผู้หญิงยุคใหม่มีความตื่นตัวในการตรวจสุขภาพมากขึ้น...คลิ๊กเพื่ออ่านต่อ

ผ่าตัดเสริมเต้านมใหม่..เทคนิคเพิ่มความมั่นใจให้ผู้เป็นมะเร็งเต้านม... มะเร็งเต้านม จัดว่าเป็นมะเร็งที่พบบ่อยอันดับ 1 ของผู้หญิงไทยและเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของผู้หญิงทั่วโลก ในปัจจุบันมีการตื่นตัวในการตรวจสุขภาพมากขึ้น ทำให้เราพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกได้เร็ว...คลิ๊กเพื่ออ่านต่อ