รู้ทันมะเร็งลำไส้และทวารหนัก

รู้ทันมะเร็งลำไส้และทวารหนัก

   ปัจจุบันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 3 ในผู้ชาย และอันดับ 5 ในผู้หญิง ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะทราบว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หรือเมื่อมาพบแพทย์ก็มักพบโรคในระยะที่เป็นมากแล้ว ซึ่งทำให้มีโอกาสการเสียชีวิตสูง ด้วยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพิ่มมากขึ้น เช่น การรับประทานอาหาร วิถีการดำเนินชีวิต และการถ่ายถอดทางพันธุกรรมที่กำลังเป็นปัญหาต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคม
   การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และการมาพบแพทย์ตั้งแต่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มแรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะสำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว ถ้ารู้เร็ว รักษาเร็วและถูกวิธีก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น

   คุณหมอครับ คำถามแรกเลยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักปัจจุบันเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 3 ในผู้ชาย และอันดับ 5 ในผู้หญิง ทำไมถึงมีความน่ากลัวขนาดนี้ครับ? และมีสาเหตุเกิดจากอะไรครับ?

   ปัจจุบันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นมะเร็งที่มีความชุกของโรคสูง แต่ไม่ใช่โรคที่น่ากลัวแล้วเนื่องจากว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันทำให้ตรวจพบเจอได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น รวมทั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้และรักษาให้หายขาดจากโรคได้

   สาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ทั้งหมด แต่สาเหตุหลักที่มีการศึกษาวิจัยพบว่าประมาณ 50-60% คือพันธุกรรม สาเหตุรองลงมา ประมาณ 30-40% คือ รูปแบบการใช้ชีวิตส ภาพแวดล้อมต่างๆ เช่นการทานอาหารที่มีกากใยน้อย การทานอาหารที่มีสัดส่วนของไขมันสูง ภาวะโรคอ้วน การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดืมที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เป็นต้น 

   โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในระยะเริ่มแรกจะมีอาการคล้ายคลึงกับอาการของลำไส้แปรปรวนหรือริดสีดวงทวารหนักหรือไม่? และอาการหรือสัญญาณเตือนอะไรบ้างที่ควรต้องรีบมาพบคุณหมอแล้วครับ?

   มีทั้งอาการที่คล้ายและไม่คล้ายโรคริดสีดวง เช่นคนทั่วๆ ไปเวลาถ่ายเป็นเลือด ถ่ายยาก ถ่ายลำบาก เจ็บก้นมักจะคิดว่าเป็นริดสีดวง หรือท้องเสียบ่อยๆ ถ่ายไม่ออกก็มักจะคิดว่าเป็นโรคลำไส้แปรปรวน แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่แบบนั้น สิ่งที่เราต้องกังวลมากที่สุดคือ มีเนื้องอกหรือเนื้อร้ายซ่อนอยู่หรือไม่ ซึ่งมีวิธีสังเกตได้ง่ายๆ เกี่ยวกับเรื่องการขับถ่ายประมาณ 4 ข้อ ที่บ่งบอกว่าไม่ใช่ริดสีดวงธรรมดา และควรต้องมาพบแพทย์ คือ

  •    1.ความผิดปกติของจำนวนครั้งในการขับถ่าย เช่นจากเดิมเคยถ่ายวันละ 1 ครั้ง เปลี่ยนแปลงเป็นถ่ายวันละ 4-6 ครั้งเป็นต้น
  •    2.มีความเปลี่ยนแปลงในลักษณะของอุจจาระ เช่น พบว่ามีมูกหรือเลือดปนในอุจจาระ หรือพบว่าลักษณะอุจจาระเปลี่ยนแปลงไปเช่นจากเดิมเคยถ่ายอุจจาระเป็นก้อนกลับเปลี่ยนเป็นอุจจาระเหลว หรือเป็นลักษณะอุจจาระที่ก้อนลำเล็กลง
  •    3.ลักษณะของการถ่ายอุจจาระที่เปลี่ยนไปเช่นต้องเบ่งมากขึ้น ถ่ายไม่สุด ไม่หมด เหลือค้างอยู่ ต้องเข้าห้องน้ำซ้ำ
  •    4.การกลั้นอุจจาระที่ผิดปกติไปจากเดิม เราสามารถที่จะสังเกตพฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระได้เอง และหากมีอาการผิดปกติเหล้านี้ก็ควรมาปรึกษาแพทย์

   โดยเฉลี่ยแล้วเราจะพบโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้มากที่สุดที่ช่วงอายุเท่าไหร่? และกลุ่มเสี่ยงที่ควรต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มีกลุ่มใดบ้าง?

   นอกจากอาการหรือสัญญาณเตือนข้างต้นที่คุณหมอได้กล่าวไป หากเราไม่มีอาการเตือนหรือผิดปกติใดๆ เลย แต่อยากทราบแต่เนิ่นๆ เราสามารถตรวจเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้หรือไม่ครับ?  ไม่ทราบว่ามีกี่วิธี และมีการตรวจแบบไหนบ้าง?

   ช่วงอายุที่พบบ่อยคืออายุ 50-60 ปี ยาวถึง 70 หรือกล่าวง่ายๆ คืออายุ 60 ปีขึ้นไป มีความชุกของโรคมากที่สุด แต่ในปัจจุบันพบในคนอายุน้อยลงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในกลุ่มที่พบในช่วงอายุน้อยๆ เหล่านี้ก็จะพบความเสี่ยงด้านอื่นที่ชัดเจน เช่นจะพบในพ่อแม่ พี่ ป้า น้า อาที่เป็นตั้งแต่อายุน้อยกว่า 50 ปี
   ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก อยากทราบว่ามีข้อดีอย่างไร และทุกคนควรต้องได้รับการส่องกล้องหรือไม่?

   ปัจจุบันมะเร็งลำไส้ เป็นมะเร็งชนิดเดียวที่ตรวจพบก่อนที่เซลล์ผิดปกติจะเปลี่ยนแปลงจนกลายป็นมะเร็งและเมื่อตรวจพบความผิดปกติเหลานั้นสามารถให้การรักษาตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติทำให้สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

   ทั้งนี้การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่ได้มีแค่วิธีการส่องกล้องเพียงอย่างเดียว การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้เริ่มต้นด้วยการตรวจอุจจาระด้วยวิธีพิเศษต่างๆ เมื่อตรวจพบเจอความผิดปกติจะนำไปสู่การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อไป เมื่อส่องกล้องแล้วเจอความผิดปกติก็จะให้การรักษาและป้องกันไปตามความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบขณะส่องกล้อง

   ในปัจจุบันคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี แม้ไม่มีความเสี่ยงก็ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุกคนเพื่อเป็นการคัดกรองและป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคต

   เมื่อลองมองย้อนกลับไปในอดีตหากพูดถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด หลายคนคงรู้สึกวิตกกังวลเรื่องอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด จึงไม่แปลกที่คนไข้หลายรายจะปฏิเสธการรักษาด้วยวิธีนี้แล้วหันไปพึ่งวิธีอื่นแทน แต่ปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะตอบโจทย์ของผู้ป่วย โดยโรงพยาบาลนนทเวชเป็นโรงพยาบาลอันดับต้นๆ  ที่มีการนำเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยวิธีการผ่าตัดผ่านกล้องมามากกว่า 15 ปี มาใช้ในการรักษา

   ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้คืออะไร // ปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน  // ผลลัพธ์ที่ได้จากการรักษา //ระยะเวลาการพักฟื้นเป็นอย่างไรครับ?

   ในเรื่องการรักษานั้นอย่างที่กล่าวไปตอนแรกว่ามะเร็งลำไส้เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมตั้งแต่ยังไม่ปรากฎอาการ

   หากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในปัจจุบันจะเป็นการดูแลผู้ป่วยร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพ เช่น อายุรแพทย์ทางเดินอาหาร ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แพทย์รังษีรักษา และอายุรแพทย์มะเร็งวิทยา

  •    โดยการรักษาคงต้องพิจารณาตามระยะและความรุนแรงของโรค แต่ต้องยอมรับว่าการผ่าตัดยังเป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ และประมาณ 80% ของผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาโรคเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถผ่าตัดรักษาด้วยวิธีการส่องกล้องทางหน้าท้องได้ ซึ่งจะเปลี่ยนจากแผลใหญ่ก็กลายเป็นแผลผ่าตัดที่เล็กลง ทำให้ผลการรักษามะเร็งดีขึ้นและผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูร่างกายได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้นลงกว่าการผ่าตัดแบบแผลใหญ่ด้วยการเปิดช่องท้องแบบปกติ


นพ.นิธิคุณ บุญอิ้ง 
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมลำไส้และทวารหนัก 
ศูนย์ศัลยกรรมเฉพาะทาง (Advance Laparoscope Surgery Center)
ศูนย์มะเร็งระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนนทเวช