จำเป็นไหม ?...ที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี

จำเป็นไหม ?...ที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี

“เพราะสุขภาพดี...สร้างได้ด้วยตัวคุณ”

   คงปฏิเสธไม่ได้ว่าโอกาสพิเศษในแต่ละปีเรามักขอพรเรื่อง “สุขภาพ” เป็นข้อแรก เพราะการมีสุขภาพดี คือ สิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตที่ทุกคนต้องการ แต่ไลฟ์สไตล์ที่ต้องเร่งรีบ ทำงานแข่งกับเวลา พักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นที่มาของความเครียด การรับประทานอาหารที่ไม่ตรงเวลาและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ  สภาพอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 รวมถึงเชื้อโรค และสารปนเปื้อนต่าง ๆ ที่มองไม่เห็นอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพทีละน้อย โดยที่คุณไม่รู้ตัว

   เพราะสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง คือ จุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับทุกๆ วัน เพราะเมื่อเรามีสุขภาพดีทั้งกายและใจ เราก็จะเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและความแข็งแรงในการทำหน้าที่ตามบทบาทต่างๆ ที่มีในชีวิตประจำวัน และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่มีความสุขกับผู้คนรอบตัว การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้รับรู้ถึงสภาพที่แท้จริงของร่างกายและไม่ควรมองข้ามถึงแม้คุณจะไม่มีอาการแม้คุณจะไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ 
  ทำไมเราต้องตรวจสุขภาพประจำปี ?  

   เพราะโดยรวมสุขภาพของคนเรามีหลายระดับ ตั้งแต่แข็งแรงมากๆ, ไม่ป่วย, เป็นโรคแต่ยังไม่มีอาการ และเป็นโรคแล้วมีอาการ การตรวจสุขภาพประจำปี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้รับรู้ถึงสภาพที่แท้จริงของร่างกาย และไม่ควรมองข้ามแม้คุณจะไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ เพราะอาการบางอย่างมักยังไม่แสดงออกมาให้เห็น และเพื่อลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งเป็นต้น

   ทั้งยังให้ทราบถึงความรุนแรงของโรคก่อนที่จะลุกลามจนเยียวยาไม่ได้ หรือสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมาก เพราะการตรวจพบเจอโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก็จะสามารถดำเนินการส่งต่อแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษาได้อย่างทันท่วงที หรือเพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงจนกระทั่งเกิดพยาธิสภาพที่ไม่สามารถฟื้นฟูได้

  ก่อนตรวจสุขภาพควรเตรียมตัวอย่างไร ?  

   สำหรับขั้นตอนและการเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ อันดับแรกเลยต้องรู้ก่อนว่าตัวเราเองมีความเสี่ยงด้านไหน หรือมีความต้องการที่จะตรวจโปรแกรมไหน ซึ่งสามารถปรึกษากับทางโรงพยาบาลเพื่อเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับตัวเองได้  เมื่อเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมได้แล้ว

ขั้นตอนต่อไปคือการเตรียมตัวก่อนที่จะมาตรวจสุขภาพดังนี้
  • ควรงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8- 10 ชั่วโมง
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง
  • ควรสวมเสื้อที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
  • สำหรับสตรีที่ต้องการตรวจภายใน ควรตรวจหลังจากมีประจำเดือนอย่างน้อย 1 สัปดาห์
  • ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจมะเร็งเต้านม คือ ช่วงวันที่ 1-7 หลังหมดประจำเดือน
  • หากตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าอาจจะตั้งครรภ์ ต้องแจ้งก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่องดการตรวจเอกซเรย์
  ​แต่ละช่วงวัย...ควรเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพแบบไหน ?  

   การตรวจสุขภาพของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันตามช่วงอายุ เพศ การดำเนินชีวิต และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ โดยการตรวจขั้นพื้นฐาน คือ การตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจเลือด ตรวจการทำงานของไต ตรวจปัสสาวะ-อุจจาระ แต่สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แพทย์จะแนะนำให้ตรวจสุขภาพอย่างละเอียด

คำแนะนำเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพที่เหมาสมตามช่วงอายุ

 
เรื่องที่ควรใส่ใจดูแล
 
การตรวจเพื่อค้นหาความเสี่ยง
ระยะเวลา/ความถี่ในกาตรวจ
อายุน้อยกว่า 35 ปี
อายุ 35-44 ปี
อายุ 45 ปีขึ้นไป
ชาย
หญิง
ชาย
หญิง
ชาย
หญิง

    ความดันโลหิต

 ตรวจวัดความดันโลหิต อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทุก 6 เดือน ทุก 6 เดือน ทุก 3 เดือน ทุก 3 เดือน

   คลอเลสเตอรอล

 ตรวจเช็คโดยการเจาะเลือด ตรวจหาระดับคลอเลสเตอรอล

 ปีละ 1 ครั้ง

ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง ทุก 6 เดือน ทุก 6 เดือน

   ไตรกลีเซอไรด์

 ตรวจเช็คโดยการเจาะเลือด ตรวจหาระดับไตรกลีเซอไรด์

ปีละ 1 ครั้ง

ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง ทุก 6 เดือน ทุก 6 เดือน

   เบาหวาน

 ตรวจเช็คโดยการเจาะเลือดหาระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)

ปีละ 1 ครั้ง

ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง

   มะเร็งต่อมลูกหมาก

ตรวจคัดกรองเบื้องต้นโดย
 การเจาะเลือดตรวจสารก่อมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
 การตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนักเพื่อดูว่ามีก้อนหรือขนาดโตหรือไม่

-
- - - ปีละ 1 ครั้ง -

   มะเร็งเต้านม

 ตรวจเต้านมโดย Mammogram+Ultrasound Breast
-
- - ปีละ 1 ครั้ง - ปีละ 1 ครั้ง

   มะเร็งปากมดลูก

 ตรวจมะเร็งปากมดลูกชนิดพิเศษ Cervical Cancer Screening

-

- - ปีละ 1 ครั้ง - -

   มะเร็งลำไส้และทวารหนัก

 ตรวจลำไส้ใหญ่ทางรังสี เพื่อดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่โดยการสวนสารแบเรี่ยมหรือลม (Air) เข้าทางทวารหนัก (Barium Enema)
 ส่องกล้องผ่านทางทวารหนักเพื่อดูลำไส้ใหญ่ทั้งหมด (Coloscopy)

- - - - ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง

   สุขภาพสายตา

 ตรวจสุขภาพโดยจักษุแพทย์ ตรวจวัดสายตา ตรวจวัดความดันลูกตา

ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง

   สุขภาพฟัน

 ตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์

ปีละ 1 ครั้ง

ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง

   น้ำหนักตัว ส่วนสูง

 คำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI)

ทุก 3 เดือน

ทุก 3 เดือน ทุก 3 เดือน ทุก 3 เดือน ทุก 3 เดือน ทุก 3 เดือน

   กระดูกพรุน

 ตววจความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone Densitometry)

- - - - ปีละ 1 ครั้ง ปีละ 1 ครั้ง
หมายเหตุ : คำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำสำหรับบุคคลทั่วไปที่สุขภาพดี ผู้ป่วยหรือผู้ที่อยู่ในความดูแลของแพทย์ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 

ขอบคุณข้อมูล

น.พ.ศวัสพล คูณชัยพานิชย์ 
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์
ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ (Wellness Center)