การขลิบ หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (เด็ก) ชาย คือ? ดีอย่างไร? จำเป็นแค่ไหน?

การขลิบ หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (เด็ก) ชาย คือ? ดีอย่างไร? จำเป็นแค่ไหน?

   การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) คือ การผ่าตัดเพื่อเอาหนังหุ้มปลายของอวัยวะเพศชาย (ส่วนเกิน) ออกไป เพื่อให้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเปิดทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด สามารถล้างสิ่งสกปรกจากสารคัดหลั่ง เช่น คราบเหงื่อ คราบปัสสาวะที่หมักหมมอยู่ตามบริเวณใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะซึ่งเป็นศูนย์รวมของเชื้อโรค สามารถทำได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงวัยสูงอายุ

ความสำคัญของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ?

ทำหน้าที่ปกคลุมและปกป้องส่วนหัวจนถึงปลายองคชาตและรูปัสสาวะ ไม่ให้เกิดอันตรายจากการบาดเจ็บและการเสียดสี หรือการอักเสบที่เกิดจากการหมักหมมของสารคัดหลั่งเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งองคชาต

ทำไมต้องขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย?  
  •  ปัสสาวะลำบาก เจ็บปวดขณะที่ปัสสาวะ
  •  มีอาการอักเสบเรื้อรังของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย
  •  หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศไม่เปิด หรือเปิดไม่เต็มที่
  •  หนังหุ้มปลายหดรัดลำองคชาติ ทำให้เจ็บปวดและบวม
  •  รูดแล้วติดไม่สามารถรูดกลับได้
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย..ขลิบแล้ว ดีอย่างไร?
  •  ดูแลรักษาทำความสะอาดได้ง่าย  
  •  ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งองคชาต
  •  ลดความเสี่ยงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กเล็ก
  •  ลดความเสี่ยงและป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  •  สามารถป้องกันภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบตัน

ขั้นตอนการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (เด็ก) ชาย

  • การขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศเด็กชาย ถือเป็นการผ่าตัดเล็กแพทย์จะใช้ยาชาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ในเด็กทารกแรกเกิด (Newborn) เท่านั้น และแพทย์จะใช้ยาสลบในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป แล้วจึงทำการผ่าตัด โดยใช้เวลาประมาณ 30 - 40 นาที
การดูแลภายหลังจากขั้นตอนการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
  • ภายหลังการผ่าตัดจะใช้เวลาในการฟื้นตัวประมาณ 7 - 10 วัน โดยบริเวณปลายอวัยวะเพศอาจมีเลือดซึมออกมาเล็กน้อยในช่วง 1 – 2 วันแรก สามารถอาบน้ำทำความสะอาดอวัยวะเพศ และทาครีม Antibiotic ได้ตามแพทย์สั่ง
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (เด็ก) ชาย ที่ รพ.นนทเวช แตกต่างอย่างไร?
  •  การผ่าตัด โดยกุมารศัลยศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 20 ปี
  •  การดมยาสลบ โดยแพทย์วิสัญญีเฉพาะทางที่มีประสบการณ์ และคอยดูแลตลอดกระบวนการผ่าตัด 

ขอขอบคุณข้อมูล

นพ.สาธิต กรเณศ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารศัลยศาสตร์
ศูนย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนนทเวช