อาหารสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์

อาหารสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์

แนวทางการรับประทานอาหารสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์

สาเหตุของภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก

   เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน  เช่น  กรรมพันธุ์  ครอบครัวและสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมการบริโภคอาหาร  ขาดกิจกรรมทางกายและการผิดปกติของฮอร์โมนต่อมไร้ท่อ

ผลกระทบต่อภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก

   เด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินส่งผลให้เด็กเหล่านี้มีโอกาสในการเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพิ่มขึ้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และยังทำให้มีโอกาสที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินได้เพิ่มขึ้นถึง 4 – 5 เท่า

แนวทางในการปฏิบัติเพื่อลดภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก
  • 1.ไม่ซื้ออาหารที่มีปริมาณไขมันและน้ำตาลสูงเข้าบ้าน
  • 2.ไม่ควรให้รางวัลเด็กด้วยขนม
  • 3.ให้ทานอาหารรสธรรมชาติ เนื่องจากอาหารรสจัดมักเพิ่มความเสี่ยงในการก่อให้เกิดฟันผุและโรคอ้วนได้
  • 4.ทานอาหารให้เป็นเวลา ลดการทานของว่างหรืออาหารจุบจิบระหว่างมื้อ
  • 5.จำกัดเวลาการเล่นอินเตอร์เน็ตหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • 6.หาเวลาออกกำลังกายร่วมกันในครอบครัว
  • 7.ฝึกให้นอนเป็นเวลา

ทุกคนในครอบครัวต้องช่วยเหลือกัน ไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่งตามใจเด็ก

แนวทางการเลือกอาหารว่างสำหรับเด็กน้ำหนักเกิน

ควรอ่านฉลากโภชนาการก่อนการเลือกซื้อทุกครั้ง

  • - ให้ดูหน่วยบริโภคต่อ 1 ซองแล้วเทียบปริมาณคุณค่าทางสารอาหารต่อ 1 หน่วยบริโภค
  • - สังเกตปริมาณน้ำตาล โซเดียมและไขมันในผลิตภัณฑ์  หากน้อยกว่าร้อยละ 5 ของปริมาณที่แนะนำในแต่ละวันถือว่าต่ำ แต่หากมากกว่าร้อยละ 20 ของปริมาณที่แนะนำในแต่ละวันถือว่าสูง
  • - ใน 1 วัน ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 24 กรัม หรือ 6 ช้อนชา และโซเดียมไม่เกิน 2400 มิลลิกรัม

ปรุงใหม่จากอาหารตามธรรมชาติ หรือเน้นขนมที่ทำจากผลไม้ หลีกเลี่ยงการทานผลไม้แปรรูป



   ขนมกรุบกรอบ เช่น มันฝรั่งทอด เนื่องจากให้พลังงาน โซเดียมและน้ำมันที่สูงในปริมาณที่น้อย

  •    น้ำผลไม้กล่อง นมปรุงแต่งรสชาติ และโยเกิร์ตพร้อมดื่ม เนื่องจากมีน้ำตาลสูง ควรทานเป็นผลไม้คั้นสดหรือเป็นผลไม้สดจะดีที่สุด

 

แนวทางการเลือกรับประทานอาหารในแต่ละหมวด 
ข้าว - แป้ง
  •  ควรรับประทานให้ครบ 3 มื้อ มื้อละ 2 ทัพพี (ไม่พูน)
  •  หากเด็กชอบทานขนมปัง ให้ทานแทนข้าวได้ไม่เกิน 2 แผ่น/ มื้อ
นม
  •  เน้นดื่มนมจืด 2 – 3 แก้ว/ วัน
  •  เลี่ยงการดื่มนมหวาน นมเปรี้ยว หรือนมปรุงแต่ง ไม่ควรดื่มแทนนมจืด
ผัก
  •  เน้นผักใบ
  •  ทานผักให้หลากหลายสีสัน
ผลไม้
  •  เน้นทานผลไม้สดเป็นหลัก
  •  เลี่ยงการทานผลไม้แปรรูป หรือน้ำผลไม้กล่อง
เนื้อสัตว์
  •  ควรรับประทานมื้อละ 2 – 3 ช้อนโต๊ะ
  •  หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง หรือเนื้อสัตว์แปรรูป
น้ำมัน น้ำตาล เกลือ
  •  ระวังเรื่องน้ำมันในอาหาร เช่น ทอด ผัด ให้เปลี่ยนวิธีในการปรุงประกอบเป็น ต้ม นึ่ง ตุ๋น ให้มากขึ้น
ตัวอย่างเมนูอาหาร 7 วัน
วัน
เช้า
กลางวัน
ว่างบ่าย
เย็น
ก่อนนอน
จันทร์

- ข้าวต้มหมูสับใส่ฟักทอง
- นมพร่องมันเนย

- ผัดมักกะโรนีไก่สับ
- แกงจืดฟักเขียว
- น้ำสับปะรด
- ผลไม้รวมมิตร

- ข้าวสวย
- ผัดผักกาดขาวแครอท
- ปลาทอดน้ำปลา

- นมพร่องมันเนย
อังคาร

- ข้าวสวย
- แกงจืดลูกเงาะไก่สับนย
- ไข่เจียว
- น้ำส้มคั้น

- ข้าวผัดสามสี
- ซุปไก่
- กล้วยน้ำว้า

- นมพร่องมันเนย
- มะละกอ
- ข้าวสวย
- ไข่ตุ๋นปูอัด
- ผักบล็อคโคลีแครอท
- นมพร่องมันเนย
พุธ

- ข้าวสวย
- แกงจืดตำลึงเต้าหู้ไข่
- หมูปั้นก้อนทอด

- ก๋วยเตี๋ยวน้ำ
- น้ำแอปเปิ้ล
- นมพร่องมันเนย
- แครกเกอร์อปเปิ้ล
- บะหมี่ราดหน้าผักสามสหาย
- มะละกอ
- นมพร่องมันเนย
พฤหัสบดี
- โจ๊กหมูก้อนใส่แครอท
- แก้วมังกร
- นมพร่องมันเนย
- ข้าวผัดปลาแซลมอน
- แกงจืดสาหร่ายทรงเครื่อง
- องุ่น
- ข้าวสวย
- แกงจืดไข่น้ำหมูสับ
- ปลาอบซอส
- นมพร่องมันเนย
ศุกร์
- ข้าวต้มกุ้งทรงเครื่อง
- น้ำส้มคั้น
- อุด้งน้ำใส่ไข่
- นมพร่องมันเนย
- ผลไม้รวมมิตร
- ข้าวสวย
- แกงจืดตำลึงไก่สับ
- ปลาทอด
- นมพร่องมันเนย
เสาร์
- ขนมปังปิ้ง
- ซุปผัก
- ไข่ดาวน้ำ
- นมพร่องมันเนย
- เกี๊ยวน้ำกุ้งสับ
- แคนตาลูป
- กล้วยน้ำว้า - ข้าวสวย
- เต้าหู้ไข่นึ่งหน้าหมู
- ผัดผักกาดขาวแครอท
- นมพร่องมันเนย
อาทิตย์
- ไข่กระทะทรงเครื่อง
- ขนมปังปิ้ง 1 แผ่น
- น้ำส้มคั้น
- ข้าวสวย
- ไข่ยัดไส้
- ผัดผักรวมมิตร
- นมพร่องมันเนย - ข้าวสวย
- แกงจืดวุ้นเส้นไข่น้ำใส่ผักกาดขาว
- หมูสับทรงเครื่อง
- นมพร่องมันเนย
 

ขอบคุณข้อมูลจาก
แผนกโภชนบำบัด
โรงพยาบาลนนทเวช