แพคเกจตรวจแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score)

แพคเกจตรวจแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score)


ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. - 31 ธ.ค. 67

   โรคหัวใจ คือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประชากรที่เป็นผู้ใหญ่ โดยสถิติจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า กลุ่ม "โรคหัวใจ" และหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก หรือประมาณ 17.9 ล้านคน และจากสถิติในประเทศไทย พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 6 หมื่นราย โดยอุบัติการณ์ล่าสุดพบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน  โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยมากเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือด 18,922 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน  (ที่มา : องค์การอนามัยโลก WHO)

สัญญาณอันตราย ภาวะหัวใจขาดเลือด!!
  1. 1.เริ่มเจ็บแน่นหน้าอกคล้ายมีของกดทับนานกว่า 5 นาที 
  2. 2.เหงื่อตก ตัวเย็น ผิวซีด
  3. 3.หายใจลำบากนอนราบไม่ได้ 
  4. 4.เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หายใจหอบ

จะทราบได้อย่างไรว่า...มีเรามีความเสี่ยงโรคหัวใจในอนาคต ?

การตรวจหาแคลเซียมหรือหินปูนในหลอดเลือดหัวใจคืออะไร ?

CT Calcium Score เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์      (CT Scan) ตรวจคัดกรองระดับหินปูนที่เกาะบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อประเมินภาวะการอุดตันของหลอดเลือด ก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง หรือประเมินแนวโน้มโอกาสในการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคต สามารถตรวจได้ทันที  ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ใช้เวลาน้อย ไม่เจ็บ ไม่ต้องฉีดสารทึบแสง

ใครบ้างที่ควรตรวจ CT Calcium Score ?
  • ผู้ที่มีอายุมากว่า 45 ปีขึ้นไป
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน และโรคไต
  • ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่ 

ผลตรวจแบบไหนถึงมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ?

โรคหัวใจ มีวิธีการรักษาอยางไร ?
  • 1.การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต 
  • 2.ใช้ยา เพื่อควบคุมโรคหัวใจหรือปัจจัยเสี่ยง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจ
  • 3.การรักษาด้วยหัตถการหลอดเลือดหรือการผ่าตัด ได้แก่
    • - การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด
    • - การขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบด้วยบอลลูน
    • - การผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ

 

@nonthavej.hospital