รักษาหมอนรองกระดูกเสื่อม ทำอย่างไร ?

รักษาหมอนรองกระดูกเสื่อม ทำอย่างไร ?

   กระดูกสันหลังประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นเชื่อมต่อกันด้วยหมอนรองกระดูกและข้อต่อกระดูกสันหลัง โดยที่ตัวกระดูกสันหลังทำหน้าที่ปกป้องไขสันหลัง ส่วนหมอนรองกระดูกทำหน้าที่เหมือนกับโช๊คอัพของรถยนต์ คือ ทำให้กระดูกสันหลังยืดหยุ่นและรับแรงกระแทกของน้ำหนักตัวจากการเคลื่อนไหว

   ดังนั้นการใช้งานหนักในชีวิตประจำวันหรืออายุที่เพิ่มขึ้นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพได้ โดยหมอนรองกระดูกที่พบว่ามีปัญหาบ่อยที่สุดคือ หมอนรองกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4-5 เนื่องจากเป็นข้อต่อระดับที่มีการเคลื่อนไหวและรับน้ำหนักมากในร่างกาย เมื่อหมอนรองกระดูกมีสภาพเสื่อม ความสูงของหมอนรองกระดูกลดลงและมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อหมอนรองกระดูกทำให้แกนหมอนรองกระดูกหลุดรอดมาภายนอกและกดทับเส้นประสาทไขสันหลังได้ดังนั้นการใช้งานหนักในชีวิตประจำวันหรืออายุที่เพิ่มขึ้นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพได้ โดยหมอนรองกระดูกที่พบว่ามีปัญหาบ่อยที่สุดคือ หมอนรองกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4-5 เนื่องจากเป็นข้อต่อระดับที่มีการเคลื่อนไหวและรับน้ำหนักมากในร่างกาย เมื่อหมอนรองกระดูกมีสภาพเสื่อม ความสูงของหมอนรองกระดูกลดลงและมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อหมอนรองกระดูกทำให้แกนหมอนรองกระดูกหลุดรอดมาภายนอกและกดทับเส้นประสาทไขสันหลังได้

อาการแบบไหน...เรียกว่า “ โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท” ?

  •  อาการปวดหลัง สะโพกและปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างรุนแรง อาการปวดมากขึ้นเวลาไอ หรือจาม
  •  อาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อสะโพกกล้ามเนื้อในการกระดูกข้อเท้าและปลายนิ้วหัวแม่เท้า
  •  อาการชาบริเวณปลายเท้า โดยเฉพาะบริเวณง่ามนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วเท้าที่  2
  •  อาการผิดปกติของระบบขับถ่าย ในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ จะมีความผิดปกติของระบบขับถ่ายร่วมด้วย เช่น ไม่สามารถควบคุมการอุจจาระหรือปัสสาวะได้ ซึ่งจำเป็นต้องผ่าตัดรักษาอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นระบบขับถ่ายอาจไม่สามารถฟื้นคืนได้ตามปกติ
การป้องกัน วิธีการลดปัจจัยเสี่ยง และการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม / หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ? 

คนไข้ที่มาพบแพทย์ในรายแรกๆ มักจะเริ่มต้นโดยการรักษาด้วยยากลุ่มแก้ปวด ลดอาการปวดปลายประสาท เมื่อทานยาไปซักระยะหนึ่งก็จะมีการทำกายภาพบำบัด

   ในรายที่มีอาการปวดมากเวลานั่งก็จะมีเครื่องพยุงหลังเพื่อให้คนไข้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่ก็จะมีอาการดีขึ้น ในผู้ป่วยที่ยังมีกิจกรรมบางอย่างเราต้องมีการปรับพฤติกรรโดยการกายภาพบำบัด นอกจากนั้นแล้วคนไข้จะต้องปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน ลดการนั่งลง “พบว่าหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะมีอาการมากขึ้นในคนไข้ที่นั่งทำงานนานๆ และลดการยกของหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ไม่นั่งกับพื้น ไม่ทำบริหารท่าที่ไม่จำเป็น เพราะการบริหารบางชนิดทำให้คนไข้ปวดมากขึ้นได้ เช่น การโยคะ การก้มเงย หรือการยืดลำตัว บางครั้งอาจทำให้คนไข้ปวดมากขึ้น”

ส่วนสุดท้ายหากรักษาด้วยการทานยา กายภาพบำบัด ปรับการทำงานในชีวิตประจำวันเรียบร้อยแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น อาจจะต้องมาตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพิ่ม เพื่อจะดูประเมินว่าคนไข้มีโอกาสต้องผ่าตัดหรือไม่

โดยสรุปการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม / หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท  จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
  • 1.การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด ได้แก่
    •  การยกของหนัก
    •  การนั่งรถยนต์นานๆ
    •  ​หลีกเลี่ยงอาการท้องผูกหรือเบ่งถ่ายอุจจาระแรงๆ เป็นต้น เนื่องจากทำให้เกิดแรงดันในหมอนรองกระดูกสูง เป็นสาเหตุให้หมอนรองกระดูกทนแรงดันไม่ได้ เกิดการแตกของหมอนรองกระดูกตามมา
    • 1.2 ยาต้านการอักเสบ NSAIDS, ยาคลายกล้ามเนื้อ

    • 1.3 กายภาพบำบัดและใช้เสื้อผยุงหลัง ช่วยในการลดอาการปวดและทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติเร็วขึ้น หลักการของการใส่เสื้อพยุงหลังในผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท คือ การทำให้หน้าท้องกระชับขึ้นจะช่วยลดแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลังได้ ร่วมกับจำกัดความเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง ทำให้อาการปวดลดลง

  • 2.การรักษาโดยการผ่าตัด
  • ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดมีดังนี้
    • 2.1.ผู้ป่วยที่มีอาการปวดมากจนทนไม่ได้ แม้จะรักษาโดยรับประทานยา พัก และกายภาพบำบัดเต็มที่แล้วก็ยังไม่สามารถทำงานหรือใช้ชีวิตได้ตามปกติ

    • 2.2.มีอาการชา อ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อขาลีบอย่างชัดเจน

      2.3.มีปัญหาระบบขับถ่ายผิดปกติชัดเจนจากความผิดปกติของเส้นประสาท เช่น กลั้นอุจจาระ หรือปัสสาวะไม่ได้

   เนื่องจากปัจจุบันโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทพบกันบ่อย ถ้ามีอาการตั้งแต่เริ่มต้นควรจะรีบมาพบแพทย์ เนื่องจากโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม / หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไม่อาจหายได้เอง การทนความเจ็บปวดเป็นเวลานานอาจจะเกิดข้อเสีย  คนไข้อาจจะมีปัญหาเรื่องขาลีบ ขาอ่อนแรง  อาจจะสายเกินไปในการมาพบแพทย์  เพราะถ้าปล่อยเนิ่นนานถึงระยะขาลีบไม่มีแรงแล้ว ผลลัพธ์หลังผ่าตัดอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร  ปัจจุบันนวัตกรรมทางการแพทย์ดีมาก ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทุกรายให้มาพบแพทย์โดยเร็วจะดีกว่า

การป้องกันหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม

ควรพยายามลดความเครียดของกล้ามเนื้อและ หมอนรองกระดูกสันหลัง เช่น นอนราบโดยยก ขาวางบนเก้าอี้นุ่มๆ นอนตะแคงกอดหมอนข้าง และควรลุกยืนหรือเดินเพื่อผ่อนคลายอาการปวดเมื่อยจากการนั่งนานๆ ยืนหรือเดินควรให้หลังตรง อกผาย ไหล่ผึ่ง ไม่สวมรองเท้าส้นสูงมาก เมื่อต้องยืนหรือเดินนานๆ ขณะที่ยืนขาข้างหนึ่งควรวางบนที่พักขา

การยกของ

ไม่ควรยกสิ่งของหนักเกินตัว ใช้เก้าอี้หรือบันไดพาดช่วย และควรย่อเข่า หลังตรงขณะยกของ ไม่ควรก้มตัว

การนั่ง

ควรนั่งตัวตรง ให้ข้อเข่าเสมอกับสะโพกและให้หลัง พิงกับพนัก โดยเท้าไม่ลอยจากพื้น

การนอนหงาย

ให้นอนบนที่นอนที่แข็งพอสมควรไม่ควรใช้ฟูกฟองน้ำ หรือเตียงสปริง เพราะจะทำให้หลังแอ่นเล็กน้อย และทำ ให้มีอาการปวดหลัง ควรใช้หมอนใบใหญ่หนุนใต้โคนขา และควรมีหมอนรองรับบริเวณคอ

การนอนตะแคง

การนอนตะแคงเป็นท่านอนที่ดี ควรนอนให้ขาล่าง เหยียดตรง ขาบนงอ สะโพกและเข่างอเล็กน้อย และ กอดหมอนข้าง

Health’s Tip : หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หากนั่งนานๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ และบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องให้แข็งแรง ช่วยยืดอายุการใช้งานและป้องกันหมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควรได้

อ้างอิง : 
บทความ เรื่อง หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท
https://www.nonthavej.co.th/herniated-disc-1.php

บทความ เรื่อง อาการปวดหลัง
https://www.nonthavej.co.th/back-pain.php

พุธพาพบแพทย์ ตอน โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทรักษาหายได้
https://www.youtube.com/watch?v=aOAeQMDzP7k

นพ.ชัชวาล ปิยะวรรณสุทธิ์
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เฉพาะทางกระดูกสันหลัง
ศูนย์กระดูกและข้อ