ตรวจหาความผิดปกติในระยะเริ่มแรก ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งระบบทางเดินอาหารและตับได้

ตรวจหาความผิดปกติในระยะเริ่มแรก ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งระบบทางเดินอาหารและตับได้

หากคุณมีอาการเหล่านี้ตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป คุณอาจมีความเสี่ยงโรคระบบทางเดินอาหารและตับ
  •  ปวดจุกแน่นท้องใต้ลิ้นปี่ใต้ชายโครงด้านซ้ายเหนือสะดือ เป็นๆ หายๆ
  •  ปวดท้องเรื้อรัง รักษาไม่หายขาด
  •  เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย
  •  ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  •  กลืนอาหารลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ
  •  อาเจียนบ่อย หรืออาเจียนติดต่อกันโดยไม่ทราบสาเหตุ
  •  อาเจียนเป็นเลือด
  •  ซีด มีภาวะโลหิตจาง
  •  ถ่ายอุจจาระมีมูก หรือมีสีดำ
  •  ท้องผูก สลับท้องเสีย
การตรวจวินิจฉัยโรคระบบทางเดินอาหารและตับ

1. การตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของถุงน้ำดี ผ่านการส่องกล้อง (ERCP) เช่น มะเร็งท่อน้ำดี ภาวะท่อน้ำดีอุดตัน เป็นต้น

2. การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้อง (GI Endoscopy)

  • ​• การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น (Gastroscopy) เพื่อดูการเคลื่อนไหวและความผิดปกติ รวมถึงตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter Pylori ในกระเพาะอาหาร
  • • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เพื่อดูความผิดปกติของเยื่อบุลำไส้และผนังลำไส้ การบีบตัวของลำไส้จนถึงส่วนต้นของลำไส้ใหญ่ หรือส่วนต่อของลำไส้กับลำไส้เล็ก
  • • การส่องกล้องเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Sigmoidoscopy)
  • • การตัดชิ้นเนื้อที่ยื่นผิดปกติในทางเดินอาหาร (Polypectomy)
  • • การใส่สายให้อาหารผ่านกล้องส่องตรวจ โดยไม่ต้องผ่าตัดหรือดมยา (PEG:Percutaneous Endoscopic Gastrostomy)
  • • การรักษาภาวะเลือดออกจากเส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร​

3. การตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินอาหารด้วยการใช้แคปซูล (Gastrointestinal Wireless Capsule Endoscopy) เป็นการตรวจวินิจฉัยแนวใหม่เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในส่วนที่ลึกที่สุดของลำไส้เล็ก โดยการกลืนแคปซูลเพื่อบันทึกภาพส่วนต่างๆของระบบทางเดินอาหาร จากนั้นแพทย์จะนำภาพและข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์ เพื่อให้การรักษาคนไข้ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้อง ตามสาเหตุของโรคต่อไป

4. การดูดและการเจาะตรวจชิ้นเนื้อตับ Liver Biopsy เพื่อนำเนื้อเยื่อและเซลล์ตับมาวิเคราะห์ ในกรณีที่มีก้อนในตับหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งตับ รวมถึงการอักเสบของตับ

ส่องกล้องระบบทางเดินอาหารและตับ ตรวจความเสี่ยง หลีกเลี่ยงโรค

ปัจจุบันปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหารและตับเพิ่มมากขึ้นทั้งทางกายภาพ เช่น อาหาร อากาศ วิถีการดำเนินชีวิต และการถ่ายถอดทางพันธุกรรมที่กำลังเป็นปัญหาต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคม เนื่องจากระบบทางเดินอาหารและตับ มีการทำงานที่ซับซ้อน จึงต้องการการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

การตรวจหาความผิดปกติที่ระบบทางเดินอาหารและตับในระยะเริ่มแรก ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งระบบ ทางเดินอาหารและตับได้

การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และการมาพบแพทย์ตั้งแต่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มแรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะสำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว ถ้ารู้เร็ว รักษาเร็วและถูกวิธีก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น

การส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscopy)

คือ การตรวจภายในกระเพาะอาหารด้วยกล้องขนาดเล็ก สามารถตรวจพบสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร  ซึ่งเป็นสาเหตุของการปวดท้องจากกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก รวมถึงการวินิจฉัยโรคในกระเพาะอาหารอื่นๆ ได้

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) 

คือ การตรวจภายในลำไส้ใหญ่ด้วยกล้องขนาดเล็ก สามารถตรวจวินิจฉัยค้นหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ติ่งเนื้อ ก้อนเนื้อที่ผิดปกติ โรคลำไส้อักเสบเป็นต้น

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ตรวจพบไว รักษาได้

   โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นมะเร็งที่มีความชุกของโรคสูง แต่ไม่ใช่โรคที่น่ากลัวแล้วเนื่องจากว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันทำให้ตรวจพบเจอได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น รวมทั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้และรักษาให้หายขาดจากโรคได้

   ช่วงอายุที่พบบ่อยคืออายุ 50-60 ปี ยาวถึง 70 หรือกล่าวง่ายๆ คืออายุ 60 ปีขึ้นไป มีความชุกของโรคมากที่สุด แต่ในปัจจุบันพบในคนอายุน้อยลงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในกลุ่มที่พบในช่วงอายุน้อยๆ เหล่านี้ก็จะพบความเสี่ยงด้านอื่นที่ชัดเจน เช่นจะพบในพ่อแม่ พี่ ป้า น้า อาที่เป็นตั้งแต่อายุน้อยกว่า 50 ปี

“ปัจจุบันมะเร็งลำไส้ เป็นมะเร็งชนิดเดียวที่ตรวจพบก่อนที่เซลล์ผิดปกติจะเปลี่ยนแปลงจนกลายป็นมะเร็งและเมื่อตรวจพบความผิดปกติเหล่านั้นสามารถให้การรักษาตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติทำให้สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

ทั้งนี้การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่ได้มีแค่วิธีการส่องกล้องเพียงอย่างเดียว การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้เริ่มต้นด้วยการตรวจอุจจาระด้วยวิธีพิเศษต่างๆ เมื่อตรวจพบเจอความผิดปกติจะนำไปสู่การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อไป เมื่อส่องกล้องแล้วเจอความผิดปกติก็จะให้การรักษาและป้องกันไปตามความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบขณะส่องกล้อง  ในปัจจุบันคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี แม้ไม่มีความเสี่ยงก็ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุกคนเพื่อเป็นการคัดกรองและป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคต

Health’s Tip
  ขับถ่ายผิดปกติ ท้องผูกเรื้อรัง เสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก การตรวจหาความผิดปกติที่ลำไส้ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ได้ 60% 
  อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยไม่ต้องรอให้มีอาการผิดปกติ

อ้างอิง :
แนะนำบริการศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ
https://www.nonthavej.co.th/gastrointestinal-system-and-liver-clinic-section1.php

โปรแกรมตรวจค้นหาความเสี่ยงโรคระบบทางเดินอาหาร
https://www.nonthavej.co.th/digestive-system.php

บทความ เรื่อง มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจพบไว รักษาได้
https://www.nonthavej.co.th/Colorectal-cancer-H.php

นพ. อานนท์ พีระกูล
อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ

บทความ เรื่อง รู้ทันมะเร็งลำไส้และทวารหนัก
https://www.nonthavej.co.th/Colorectal-cancer.php

นพ.นิธิคุณ บุญอิ้ง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมลำไส้และทวารหนัก
ศูนย์ศัลยกรรมเฉพาะทาง (Advance Laparoscope Surgery Center)
ศูนย์มะเร็งระบบทางเดินอาหารและตับ