โรคต่อมไทรอยด์

ไทรอยด์ คืออะไร

   ไทรอยด์ (Thyroid) เป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในระบบต่อมไร้ท่อ ตั้งอยู่ด้านหน้าของลำคอในส่วนหน้า ต่อลูกกระเดือกมีรูปร่างคล้ายปีกผีเสื้อ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมน ไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการ เจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมการทำงานของ อวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกาย ต่อมไทรอยด์เป็นเสมือนหน่วย สร้างความสมดุลให้กับร่างกายหลายระบบ หากต่อม ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้ร่างกายหลายส่วน เกิดปัญหาตามมา ผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ อาจมีอาการแสดงได้หลายรูปแบบ ขึ้นกับชนิดของความผิด ปกติของต่อมไทรอยด์ เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) จะมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น มือสั่น ขี้ร้อน หงุดหงิด หิวบ่อย น้ำหนักลดถึงแม้รับ ประทานมาก ในผู้หญิงประจำเดือนอาจมาน้อยลงหรือ อาจหายไป ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) จะมีอาการเฉื่อยชา ง่วงนอน บ่อย ตัวบวมฉุ ขี้หนาว ท้องผูก บางกรณีผู้หญิงประจำ เดือนอาจมามากผิดปกติ

สาเหตุ

  • • ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน (หรือเม็ดเลือด ขาวในกระแสเลือดหรืออิมมูนซิสเต็ม) โรคไทรอยด์ มากกว่าครึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของภูมิ คุ้มกัน (หรือเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดหรือ อิมมูนซิสเต็ม) ซึ่งโรคนี้ผู้ป่วยมีความเจ็บป่วยรุนแรง ไม่เท่ากันการรักษาจึงทำได้ในระดับ ที่ควบคุมให้ ภาวะของโรคนั้นเบาลงหรือทำให้โรคสงบ และทำ ให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติมากที่สุด
  • • พันธุกรรมและไวรัส ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถ ควบคุมดูแลได้ • ความเครียดและภูมิคุ้มกัน ความเครียดมีส่วน ไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันตนเองที่อาจจะไม่ค่อยดี อยู่แล้ว ทำให้เกิดเป็น

ประเภทความผิดปกติของไทรอยด์ 

ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์มี 3 แบบ คือ 
  • 1.ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมามากเกินความจำเป็นอาการจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ที่พบบ่อย ได้แก่ ผอมลงทั้งๆ ที่กินจุ หัวใจเต้นเร็วและแรง ทนอากาศร้อนไม่ได้ เหงื่อออกมากกล้ามเนื้อแขนและขาลีบ อุจจาระบ่อยขึ้น ท้องเสีย ประจำเดือนมาน้อยลงไม่สม่ำเสมอ ผมเปราะ แห้ง ผมร่วง มือสั่น หงุดหงิดง่ายกังวลเกินเหตุ อารมณ์แปรปรวน อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ อาจมีต่อม ไทรอยด์โตทั้งต่อมและอาจร่วมกับมีตาโปนทั้ง 2 ข้าง การรักษาทำได้หลายวิธี แพทย์จะพิจารณาจาก อายุ สภาพของผู้ป่วยชนิดของคอพอกเป็นพิษ ความรุนแรงของโรค
การรักษา
  • รับประทานยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน เช่น Methimazole , PTU
  • การรับประทานน้ำแร่ Radioactive Iodine เพื่อให้รังสีนี้จะทำลายเนื้อไทรอยด์ โดยแพทย์ต้องมีการคำนวณขนาดยาที่เหมาะสมไม่ให้มากเกินไป หรือน้อยเกินไป
  • การผ่าตัด โดยแพทย์จะเลือกใช้กับผู้ป่วยบางราย เช่น เด็ก วัยรุ่น หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหากับยาที่รักษา หรือผู้ที่มีต่อมโตมาก มีอาการทางตารุนแรง หรือมีก้อนในต่อม 
  • รับประทานยาอื่นๆ เพื่อลดอาการของโรค เช่น อาการ ใจสั่น มือสั่น เช่น Propanolol, Atenolol, Metoprolol
  • 2.ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน หรือโรคต่อมไทรอยด์ ทำงานต่ำ (Hypothyroidism) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ  หรือเสียหายจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์  จึงส่งผลให้มีไทรอยด์ ฮอร์โมนในร่างกาย/ในเลือดต่ำกว่าปกติ  จึงก่ออาการต่างๆขึ้น ซึ่งที่พบบ่อย  ได้แก่ทนหนาวไม่ได้ หนาวเกินเหตุ ท้องผูก ประจำเดือนมามากผิดปกติ ปวดข้อ  ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย อ้วนฉุ เฉื่อย ช้า เสียงแหบ พูดได้ช้าลง  ผิวหนังดูหนากว่าปกติ ผิวแห้ง เล็บแตกง่าย  ใบหน้ารอบดวงตา มือ เท้าบวมโดยเฉพาะเมื่อตื่นนอน ซึมเศร้า ถ้าเป็นในเด็กจะทำให้ตัวเล็กแคระแกรน และเป็นโรคเอ๋อได้
การรักษา
  • • โดยการให้ Thyroid Hormone ไปตลอดชีวิตโดย จะต้องเริ่มให้ในขนาดน้อยแล้วค่อยปรับยาจนกระทั่งระดับ T4 และ TSH อยู่ในเกณฑ์ปกติ และไม่ควรเปลี่ยนยาเอง โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
  • • ควรตรวจหาระดับ TSH เป็นระยะเพื่อปรับยาไทรอยด์ โดยการเจาะเลือดปีละครั้ง
  •  
  • 3. ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานปกติ คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมาตามปกติ แต่เกิดความผิด ปกติที่ต่อมไทรอยด์ และอาจส่งผลกระทบต่อการหลั่ง ปริมาณฮอร์โมน ได้เช่นกัน
การวินิจฉัย

  แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคของต่อมไทรอยด์ได้จาก ประวัติ อาการการตรวจร่างกาย การตรวจคลำต่อมไทรอยด์ และต่อม น้ำเหลืองบริเวณลำคอ การตรวจเลือดดูการทำงานของต่อม ไทรอยด์ การตรวจภาพต่อมไทรอยด์ด้วยอัลตราซาวด์ หรือการ ตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (โดยการกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน หรือฉีดยาแร่รังสีบางชนิดเข้าหลอดเลือดดำ หลังจากนั้นจึงใช้ เครื่องสแกนตรวจจับรังสีที่เซลล์ต่อมไทรอยด์จับกิน แล้วจึง แปลงเป็นภาพต่อมไทรอยด์) หรือการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์

  • 1.การตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนสำคัญ 3 ชนิด คือ ไทรอกซีน หรือ ที4 (Thyro xine, T4) ไตรไอโอโดไธโรนีน หรือ ที3 (Triiodothyronine, T3) และแคลซิโทนิน (Calcitonin) ซึ่งเป็น ฮอร์โมนที่มีความสำคัญน้อยกว่าฮอร์โมน T4 และ T3 เป็นอย่างมาก ดังนั้นโดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงไทรอยด์ฮอร์โมนจึงมักหมายความถึง เฉพาะฮอร์โมน T4 และ T3 เท่านั้น
    • • หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปเรียกว่า ภาวะ ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) ผลการตรวจ เลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 สูงแต่ TSH ต่ำ
    • • หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไปเรียก ภาวะขาด ไทรอยด์ฮอร์โมนหรือโรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothy roidism) ผลการตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 ต่ำแต่ TSH สูง
  • 2. การตรวจภาพต่อมไทรอยด์ด้วยอัลตราซาวด์ เพื่อดูขนาดของต่อมไทรอยด์ ดูว่ามีก้อนเนื้อ (Thyroid nodule), ถุงน้ำ (Cyst) หรือหินปูนที่ก้อน (Calcification) รวมทั้งประเมินต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอด้วย
  • 3. การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คือ การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์โดยให้ผู้ป่วย ดื่มน้ำแร่รังสีไอโอดีน หรือฉีดยาแร่รังสีบางชนิดเข้าหลอด เลือดดำ หลังจากนั้นจึงใช้เครื่องสแกน (Thyroid scan) ตรวจจับรังสีที่เซลล์ต่อมไทรอยด์จับกิน แล้วจึงแปลงเป็น ภาพต่อมไทรอยด์

ประโยชน์ของเครื่องสแกน (Thyroid scan) คือ
  • • บอกว่าต่อมไทรอยด์มีการอักเสบหรือไม่
  • • บอกว่าต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนเพิ่มหรือไม่
    • แยกก้อนที่ไทรอยด์ว่าเป็น Hot หรือ Cold nodule (Hot nodule หมายถึงก้อนที่ต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมน สูงมักจะไม่เป็นมะเร็ง ส่วน Cold nodule มีโอกาสเป็น มะเร็ง 5% ทั้งนี้มะเร็งไทรอยด์ส่วนใหญ่เป็น cold nodule)
  •  
  • 4. การใช้เข็มเจาะเนื้อไทรอยด์ (Needle aspirate) คือ วิธีการตรวจเนื้อเยื่อว่าเป็นมะเร็ง คอพอกเป็นพิษ หรือซีสต์โดยการใช้เข็มเล็กๆ ดูดเนื้อเยื่อ และนำส่งตรวจ ทางกล้องจุลทัศน์ 
การรับประทานน้ำแร่

   เนื่องจากว่าสารไอโอดีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ฮอร์โมนไทรอยด์ การให้สารไอโอดีนที่เป็นสารกัมมันตรังสี (Radioactive Iodine) จะทำให้รังสีทำลายเนื้อมะเร็ง การ รักษาโดยวิธีนี้แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานสารไอโอดีนรังสี ซึ่งอาจจะทำเป็นรูปสารละลายหรือแคปซูล I-131 นี้จะไป จับกับเนื้อไทรอยด์อย่างรวดเร็ว และเริ่มทำลายเนื้อไทรอยด์ โดยจะเห็นผลเต็มที่ ใช้เวลา 4-6 เดือน ก่อนได้รับสารนี้ ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนทุกครั้ง

ข้อห้ามใช้

   ห้ามใช้สารไอโอดีนที่เป็นสารกัมมันตรังสี (RadioactiveIodine) ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้ นมบุตร ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนให้สารไอโอดีน ที่เป็นสารกัมมันตรังสี และควรคุมกำเนิดต่อไปทั้ง เพศหญิงและชาย 6 เดือน หลังการกลืนแร่

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่ได้รับน้ำแร่ 

  • • ให้อยู่ไกลผู้อื่น ช่วง 2-3 วันแรกให้แยกตัวจากผู้อื่น โดย การแยกห้องนอน งดการกอด หรือมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยง คนท้อง และเด็ก
  • • ลดระยะเวลาที่ต้องสัมผัสกับผู้อื่น เนื่องจากการปริมาณ รังสีที่ได้รับขึ้นกับระยะเวลาที่สัมผัส ดังนั้นควรอยู่ใกล้ชิดกับ ผู้อื่นให้น้อยที่สุด
  • • รักษาสุขลักษณะให้ดีที่สุด ด้วยการล้างมือด้วยสบู่และ น้ำทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ ให้ราดน้ำเยอะๆ หรือกดชักโครก 2 ครั้ง แยกถ้วยชามอาหารในระยะแรก ล้างห้องน้ำหรืออ่าง ล้างหน้าทุกครั้งที่เปื้อนน้ำลายหรือเหงื่อของผู้ป่วย
    • ข้อควรระวัง
    • • ถ้าหากท่านตั้งครรภ์ควรแจ้งแพทย์ก่อนได้รับน้ำแร่
    • • ถ้าท่านเลี้ยงบุตรด้วยนมตัวเองให้งดให้นมบุตรเนื่องจาก น้ำแร่สามารถผ่านทางน้ำนมได้

  • •  นั่งสมาธิ ช่วยปรับให้ร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะสมดุล
  • •  ออกกำลังกาย ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของ อิมมูนซิสเต็มได้เป็นอย่างดี ทำให้ร่างกายผลิตเม็ด เลือดขาวที่มีคุณภาพ
  • •  เน้นอาหารเพื่อสุขภาพ ควรทานอาหารที่ผ่าน การปรุงแต่งน้อย และอาหารที่มีโปรตีนสูง โดยเฉพาะ จากธัญพืช วิตามินและเกลือแร่จากธรรมชาติเพื่อ สร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • •  มองโลกในแง่ดี
  • •  มีเพื่อนไว้พูดคุยคลายทุกข์
  • •  หากิจกรรมทำเพื่อความเพลิดเพลิน

ขอบคุณข้อมูลจาก
นายแพทย์จิระพงค์ อุกะโชค
อายุรแพทย์โรคระบบต่อมไร้ท่อ
(เบาหวาน-ธัยรอยด์)

ศูนย์เบาหวาน