ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ

ปัจจุบันปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหารและตับเพิ่มมากขึ้นทั้งทางกายภาพ เช่น อาหาร อากาศ วิถีการดำเนินชีวิต และการถ่ายถอดทางพันธุกรรมที่กำลังเป็นปัญหาต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคม เนื่องจากระบบทางเดินอาหารและตับ มีการทำงานที่ซับซ้อน จึงต้องการการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง  ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ (Gastrointestinal&Liver Center) พร้อมด้วยทีมอายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินอาหาร วิสัญญีแพทย์ รังสีแพทย์ และแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านเคมีบำบัด

ขอบเขตและการให้บริการเฉพาะทาง ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ

พร้อมให้บริการตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารและตับทั้งระบบ ได้แก่
โรคเกี่ยวกับหลอดอาหาร อาทิ
  •  อาการกลืนลำบาก
  •  อาการจุกคอ
  •  โรคกรดไหลย้อน ฯลฯ
โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร อาทิ
  •  โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  •  โรคแผลในกระเพาะอาหาร
  •  โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ฯลฯ
โรคเกี่ยวกับลำไส้ อาทิ
  •  อาการขับถ่ายผิดปกติ
  •  โรคลำไส้อักเสบ
  •  โรคบิด
  •  โรคลำไส้อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง
  •  โรคลำไส้แปรปรวน
  •  โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ฯลฯ
โรคเกี่ยวกับตับ อาทิ
  •  โรคตับอักเสบจาก
    •  ไวรัสตับอักเสบ A, B, C
    •  แอลกอฮอล์
    •  สารพิษและยาบางชนิด
    •  ภูมิคุ้มกัน
    •  ​ไขมันสูง
  •  โรคตับแข็ง
  •  โรคมะเร็งตับ ฯลฯ
โรคเกี่ยวกับทางเดินน้ำดี อาทิ
  •  โรคนิ่วในถุงน้ำดี
  •  โรคถุงน้ำดีอักเสบ
  •  โรคท่อน้ำดีอักเสบ
  •  โรคทางเดินน้ำดีอุดตัน ฯลฯ
 

ระบบทางเดินอาหารผิดปกติจะทราบได้อย่างไร

   เพราะระบบทางเดินอาหารมีการทำงานที่ซับซ้อน ความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจไม่ชัดเจน ต้องอาศัยการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางร่วมกับการตรวจสอบพฤติกรรมของแต่ละบุคคลในเบื้องต้น และวินิจฉัยอย่างใกล้ชิด ดังนั้นควรมาพบแพทย์ในกรณีดังนี้

  •  สงสัยว่ามีอาการของโรคระบบทางเดินอาหาร
  •  ต้องการตรวจสอบการทำงานของระบบทางเดินอาหารและตับอย่างละเอียดอย่างละเอียด เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารและตับ
  •  อาการของโรคระบบทางเดินอาหารและตับที่รักษาอยู่ ไม่หายขาดหรือไม่ดีขึ้น
  •  ต้องการได้รับการยืนยันจากแพทย์ ในการตรวจวินิจฉัยและวิธีการรักษา เพื่อประกอบการตัดสินใจในการรักษา
  •  ต้องการตรวจและรักษาด้วยการส่องกล้อง โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  •  ต้องการคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคในระบบทางเดินอาหารและตับ
 ปวดจุกแน่นท้องใต้ลิ้นปี ใต้ชายโครงด้านซ้ายหนือสะดือ เป็นๆ หายๆ​
 ปวดท้องเรื้อรัง รักษาไม่หายขาด​
 เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย​
 ท้องอืด อาหารไม่ย่อย​
 กลืนอาหารลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ
 อาเจียนบ่อย หรืออาเจียนติดต่อกันโดยไม่ทราบสาเหตุ
 อาเจียนเป็นเลือด
 ซีด มีภาวะโลหิตจาง​
 ถ่ายอุจจาระมีมูก หรือมีสีดำ​
 ท้องผูก สลับท้องเสีย

การตรวจวินิจฉัยและเทคโนโลยีทางการแพทย์

อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง...บอกความผิดปกติของโรคใดได้บ้าง ?

การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน
หาความผิดปกติของถุงน้ำดี ตรวจหานิ่วถุงน้ำดีอักเสบ มะเร็งถุงน้ำดี เนื้องอกถุงน้ำดี 
หาความผิดปกติของตับ 
หาความผิดปกติของตับอ่อน 
หาความผิดปกติของม้าม 
หาความผิดปกติของไต ตรวจหานิ่วในเนื้อไตและท่อไต 

การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง
หาความผิดปกติของ มดลูก ต่อมลูกหมาก ตรวจหาเนื้องอกในมดลูกและรังไข่ ก้อนเนื้อในอุ้งเชิงกราน
หาความผิดปกติของไส้ติ่ง
หาความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ
ดูการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลือง

 รู้เร็ว วางแผนการรักษาได้ทันก่อนที่โรคจะลุกลาม...

ใครบ้างที่ควรตรวจ?
ชาย/ หญิง อายุ 50 ปี ขึ้นไป
ผู้ที่มีความผิดปกติ อาหารไม่ย่อย ท้องอืด จุกเสียด
ผู้ที่มีความผิดปกติระบบขับถ่าย
ผู้ที่เคยตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี แต่ไม่เคยตรวจอัลตร้าซาวด์

การตรวจวินิจฉัย
  • 1. การตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของถุงน้ำดี ผ่านการส่องกล้อง (ERCP) เช่น มะเร็งท่อน้ำดี ภาวะท่อน้ำดีอุดตัน เป็นต้น
  • 2. การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้อง (GI Endoscopy)
    • • การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น (Gastroscopy) เพื่อดูการเคลื่อนไหวและความผิดปกติ รวมถึงตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter Pylori ในกระเพาะอาหาร
    • • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เพื่อดูความผิดปกติของเยื่อบุลำไส้และผนังลำไส้ การบีบตัวของลำไส้จนถึงส่วนต้นของลำไส้ใหญ่ หรือส่วนต่อของลำไส้กับลำไส้เล็ก
    • • การส่องกล้องเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Sigmoidoscopy)
    • • การตัดชิ้นเนื้อที่ยื่นผิดปกติในทางเดินอาหาร (Polypectomy)
    • • การใส่สายให้อาหารผ่านกล้องส่องตรวจ โดยไม่ต้องผ่าตัดหรือดมยา (PEG:Percutaneous Endoscopic Gastrostomy)
    • • การรักษาภาวะเลือดออกจากเส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร​
  • 3. การตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินอาหารด้วยการใช้แคปซูล (Gastrointestinal Wireless Capsule Endoscopy) เป็นการตรวจวินิจฉัยแนวใหม่เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในส่วนที่ลึกที่สุดของลำไส้เล็ก โดยการกลืนแคปซูลเพื่อบันทึกภาพส่วนต่างๆของระบบทางเดินอาหาร จากนั้นแพทย์จะนำภาพและข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์ เพื่อให้การรักษาคนไข้ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้อง ตามสาเหตุของโรคต่อไป
  • 4. การดูดและการเจาะตรวจชิ้นเนื้อตับ Liver Biopsy เพื่อนำเนื้อเยื่อและเซลล์ตับมาวิเคราะห์ ในกรณีที่มีก้อนในตับหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งตับ รวมถึงการอักเสบของตับ
การรักษา
  • 1.การใช้เทคนิคในการรักษา โดยไม่ต้องผ่าตัด
    • - การห้ามสภาวะเลือดออกเฉียบพลัน จากทางเดินอาหารและตับ​
  • 2. การรักษาโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ด้วยการผ่าตัด เช่น
    • - การผ่าตัดโรคตับ ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี
    • - การผ่าตัดโรคหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่
เทคโนโลยีทางการแพทย์
  •  เอกซเรย์และอัลตร้าซาวด์ในช่องท้อง (X-ray and Ultrasound)
  •  เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Spiral CT Scan)
  •  การตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  •  ส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร (GI Endoscopy)
  •  การส่องกล้องตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินอาหารด้วยการใช้แคปซูล (Gastrointestinal Wireless Capsule Endoscopy)
  •  การรักษาโดยการผ่าตัดและการส่องกล้องผ่าตัด GI Surgery (Laparoscopic Surgery)
  •  การรักษาโดยการผ่าตัดผ่านกล้อง 3 มิติ (3D Full High Definition Laparoscopic Surgery)
  •  ตรวจคัดกรองความผิดปกติของตับด้วยเครื่อง FibroScan
ดูแลสุขภาพตับวันนี้...ทำได้ทันที
  •   ลด ละ เลิกการดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
      มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
      ไม่ใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีดโกน แปรงสีฟัน กรรไกรตัดเล็บ และเข็มฉีดยา
      ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ
      ไม่รับประทานยา ยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโดยไม่ทราบที่มา หรือเพียงเพราะคำโฆษณา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำก่อนรับประทาน
      สวมถุงมือ สวมหน้ากากป้องกัน หากต้อมงสัมผัสหรือสูดดมสารเคมี
      ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี

 

  • รวดเร็ว .. ทราบผลทันที          

  •   ภาวะพังผืดในเนื้อตับ
      ตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ

     ตับ จัดว่าเป็นโรงงานศูนย์กลางของร่างกาย เป็นอวัยวะที่สำคัญทำหน้าที่หลักในการขจัดสารพิษที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด รวมถึงเป็นแหล่งสะสมวิตามินต่างๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับร่างกาย อย่างที่ทราบกันว่าตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่และหนักที่สุด หลายคนจึงมักไม่ทราบว่า ตับเกิดความผิดปกติ ตับไม่สามารถบอกคุณว่าตับกำลังประสพกับปัญหาใด การปล่อยให้ตับอยู่ในภาวะผิดปกติเริ้อรัง ประสิทธิภาพในการดูแลรักษาร่างกายก็จะค่อยๆ ลดลง ทำให้ร่างกายต้องดูแลตัวเองด้วยการสร้างพังผืด ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลา นาน อาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ตามมา อาทิ โรคตับอักเสบ โรคตับแข็ง และที่หลายคนกลัวที่สุด คือ โรคมะเร็งตับ

     โรคมะเร็งตับ  พบได้บ่อยในคนไทย มีความรุนแรงและรักษายาก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีชนิดเรื้อรัง รวมทั้งโรคตับแข็งจากการดื่มแอลกอฮอล์ และโรคไขมันสะสมในตับ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตับหากได้รับการวินิจฉัยเพื่อนำไปสู่การรักษาที่รวดเร็ว สามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับหรือภาวะตับแข็ง โดยไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ กับร่างกายผู้ป่วย ตรวจง่าย ไม่เจ็บ รู้ผลเร็ว ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อเทียบจากการเจาะตับนั่นคือ FibroScan

FibroScan คืออะไร?

     เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ โดยไม่เกิดความเจ็บปวดใดๆ กับร่างกาย และลดอัตราความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนได้ เมื่อเทียบกับการเจาะตับ (liver biopsy) ได้ ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับหรือภาวะตับแข็ง โดยไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ กับร่างกายผู้ป่วย ตรวจง่าย ไม่เจ็บ รู้ผลเร็ว ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อเทียบจากการเจาะตับนั่นคือ FibroScan

ตรวจ FibroScan เพื่ออะไร?

     ผลตรวจไฟโบรสแกนสามารถช่วยในการติดตามผลการดำเนินโรค และประเมินระดับความรุนแรงของภาวะตับแข็ง เพื่อดูผลการตอบสนองการรักษาและวางแผนการรักษาต่อไป โดยอาจใช้แทนการเจาะเนื้อตับในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามหรือปฏิเสธการเจาะตับ alibri;mso-fareast-theme-font: minor-latin;mso-hansi-theme-font:minor-bidi;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language: EN-US;mso-bidi-language:TH'>liver biopsy) ได้ ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับหรือภาวะตับแข็ง โดยไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ กับร่างกายผู้ป่วย ตรวจง่าย ไม่เจ็บ รู้ผลเร็ว ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อเทียบจากการเจาะตับนั่นคือ FibroScan

หลักการทำงานของ FibroScan

     FibroScan ใช้หลักการปล่อยคลื่นความถี่ต่ำที่ 50 เฮิรตซ์ ด้วยเทคนิค VCTETM (Vibration Controlled Transient Elastography) เข้าไปในตับแล้ววัดคลื่นที่สะท้อนกลับมาด้วยคลื่นเสียงความถี่ต่ำ จากนั้นเครื่องจะประมวลผลออกมา เป็นค่าความแข็งเนื้อตับ หากตับเริ่มแข็งคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับจะเดินทางเร็ว ค่าที่วัดได้ก็จะสูงตาม มีหน่วยวัดเป็นกิโลพาสคาล(kPa) 

     ส่วนการวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ สามารถวัดได้โดยมีชื่อเรียกวิธีนี้ว่า CAP (Controlled Parameter) ใช้หลักการปล่อยคลื่นเสียงความถี่ต่ำเข้าไปในเนื้อตับ และวัดค่าความต้านทานนั้นๆ หากตับมีปริมาณไขมันสะสมมาก ก็จะมีแรงต้านทานมาก ค่าที่ได้ก็จะสูงตามมีหน่อยวัดเป็นเดซิเบล/ เมตร(dB/m) กระบวนการตรวจจะใช้เวลาประมาณ 5-10 นาทีก็สามารถทราบผลได้ อีกทั้งยังไม่ต้องเจ็บตัวจากการเจาะตับ และสามารถลดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อทำการรักษาได้อย่างทันถ่วงที จากนั้นเครื่องจะประมวลผลออกมา เป็นค่าความแข็งเนื้อตับ หากตับเริ่มแข็งคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับจะเดินทางเร็ว ค่าที่วัดได้ก็จะสูงตาม มีหน่วยวัดเป็นกิโลพาสคาล(kPa)

ใครเป็นผู้ตรวจ FibroScan ?

  แพทย์ หรือบุคลากรที่ได้รับการอบรมจะเป็นผู้ตรวจ FibroScan ได้ดีที่สุด

ใครที่ควรได้รับการตรวจด้วย FibroScan ?

  •   ตัวเหลืองและตาเหลือง
  •   ท้องบวม ขาบวม
  •   อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
  •   น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  •   ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงไวรัสตับอักเสบบีและซี
  •   ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ
  •   ปวดแน่นบริเวณใต้ชายโครงด้านขวา บางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปที่หลังหรือไหล่
  •   สงสัยเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง
  •   สงสัยภาวะตับแข็ง
  •   ผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรัง
วิธีการตรวจ FibroScan

     แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนหงายโดยยกแขนทั้งสองข้างไว้เหนือศีรษะ ทาเจลที่หัวตรวจหรือผิวหนังผู้ป่วยเพียงเล็กน้อย   วางอุปกรณ์ปล่อยสัญญาณคลื่นความถี่ไว้ที่ชายโครงด้านขวาซึ่งเป็นตำแหน่งของตับ แล้วปล่อยสัญญาณคลื่นความถี่เข้าไปเบาๆ ทั้งหมด 10 ครั้ง เครื่อง FibroScan จะประมวลผลสะท้อนกลับมา ผลที่ได้เป็นค่าความแข็งของตับ เป็นตัวเลขตั้งแต่ 1.5 - 75 กิโลพาสคาล และค่าปริมาณไขมันสะสมในตับเป็นตัวเลขตั้งแต่ 100 – 400 เดซิเบล/ เมตร  และแพทย์จะแปลผลที่ได้เพื่อเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคตับ �ื่นเสียงที่สะท้อนกลับจะเดินทางเร็ว ค่าที่วัดได้ก็จะสูงตาม มีหน่วยวัดเป็นกิโลพาสคาล(kPa)

คำแนะนำ สำหรับการตรวจ FibroScan

งดอาหารอย่างน้อย 2 หรือ 3 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจวัดด้วย FibroScan

ข้อดีในการตรวจด้วย FibroScan
  •   ไม่เกิดความเจ็บปวด และไม่เป็นอันตรายใดๆ กับร่างกาย
  •   ใช้เวลาในการตรวจไม่นาน เพียง 5-10 นาที
  •   ลดการบาดเจ็บจากการเจาะตับ
  •   ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังการตรวจ
  •   ในกรณีที่ต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด สามารถตรวจซ้ำได้หลายครั้งและปลอดภัย
  •   ตรวจง่าย รวดเร็ว ทราบผลทันที
ข้อห้ามในการตรวจด้วย FibroScan
  •   ไม่ตรวจในอวัยวะอื่นๆ ใช้ได้เฉพาะการตรวจตับเท่านั้น
  •   ผู้ป่วยที่ติดอุปกรณ์ในร่างกาย เช่น pacemakers, defibrillators   
  •   ผู้ที่มีภาวะท้องมาน
  •   หญิงตั้งครรภ์
  •   ผู้ป่วยที่ช่องซี่โครงแคบอาจขัดขวางการส่งให้สัญญาณ
  •   ผู้ป่วยที่อ้วนมาก หรือผู้ที่มีน้ำในช่องท้องอาจทำให้สัญญาณไปไม่ถึงเนื้อตับ
     คุณดูแล “ตับ” ดีแล้วหรือยัง.. หากคุณกำลังรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หรือสงสัยว่าตัวเองอาจป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับตับ ควรหันกลับมาใส่ใจ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหมั่นตรวจเช็คสุขภาพ “ตับ” ของคุณเป็นประจำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ตามมา

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
โทร.0-2596-7888


  แพคเกจและโปรแกรมตรวจ ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ